Page 119 -
P. 119

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                               119





                    nutrient balance สมดุลธาตุอาหาร : ด้านสรีระของพืชหมายถึงสมดุลของธาตุอาหารในเซลล์ด้านต่างๆดังนี้ (1)
                      ธาตุอาหารรูปที่มีประจุบวกและประจุลบ ซึ่งพืชดูดได้และอยู่ในเซลล์ ธาตุอาหารพวกแคตไอออนมีเพียงพอสําหรับ

                      ทําหน้าควบคุมความเป็นกลางทางไฟฟ้าของสารอนินทรีย์ (เช่นไนเทรตก่อนนําไปใช้ประโยชน์) และสารอินทรีย์ที่มี

                      ประจุลบ เช่นแอนไอออนของกรดอินทรีย์ (2) มีธาตุอาหารบางธาตุเพียงพอสําหรับควบคุมสมดุลด้านพีเอชและศักย์
                      รีดอกซ์ของเซลล์ และ (3) ภาวะธํารงดุล (homeostasis) ของธาตุต่างๆระหว่างส่วนที่ใช้ในเมแทบอลิซึม

                      (metabolic pool) และส่วนที่สํารองไว้ (nonmetabolic pool)
                    nutrient balance สมดุลธาตุอาหาร : ด้านการจัดการธาตุอาหาร หมายถึงสภาพซึ่งธาตุอาหารทุกธาตุในพืชอยู่ใน

                      ระดับพอเหมาะ ไม่มีธาตุใดขาดแคลนหรือได้รับมากเกิน และไม่มีภาวะปฏิปักษ์ระหว่างธาตุอาหาร เป็นการจัดการ

                      ด้านความอุดมสมบูรณ์และธาตุอาหารพืชที่เหมาะสม เนื่องจากใช้เทคนิคการวิเคราะห์ดินและพืชที่เชื่อถือได้ แล้วนํา
                      ผลการวิเคราะห์มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการธาตุอาหาร ทั้งธาตุหลัก ธาตุรองและจุลธาตุ

                    nutrient balance sheet บัญชีงบดุลธาตุอาหาร: ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารที่ใส่ให้พืชกับปริมาณที่ออกไป
                      จากดิน (input/output analysis) หากได้ค่าเป็นบวกแสดงว่าความอุดมสมบูรณ์ของดินสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นลบความ

                      อุดมสมบูรณ์ของดินย่อมลดลง พืชมีโอกาสขาดธาตุอาหาร จําเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุหารที่ขาดให้เพียงพอ เพื่อทําให้

                      ผลิตภาพของดินสูงขึ้นเหมือนเดิม และรักษาสภาพที่ดีไว้อย่างยั่งยืน
                    nutrient budget งบประมาณธาตุอาหาร : แผนการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มปริมาณธาตุอาหารลงไปในดิน ให้สัมพันธ์กับ

                      ปริมาณที่สูญเสียในระบบการปลูกพืช แหล่งธาตุอาหารที่ใส่ คือ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ นอกจากนี้ยังมี

                      การหมุนเวียนใช้ใหม่ของธาตุอาหารในวัสดุต่างๆทั้งจากภายในและนอกไร่นา
                    nutrient concentration ความเข้มข้นธาตุอาหาร : ผลการวิเคราะห์พืชหรือดิน แสดงหน่วยความเข้มข้นที่ใช้ทาง

                      วิชาการ (1) ในพืช: ความเข้มข้นของธาตุอาหารในพืช พวกมหธาตุใช้หน่วยร้อยละ (%) ส่วนจุลธาตุใช้หน่วย
                      มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมพืชแห้ง (มก.ธาตุ/กก.) ปริมาณธาตุอาหารที่พืชดูดใช้ (total nutrient uptake) ได้จากผลคูณ

                      ระหว่างความเข้มข้นของธาตุกับนํ้าหนักแห้งของพืช (2) ในดิน: ความเข้มข้นของธาตุอาหารในดิน เช่น โพแทสเซียม
                      ที่แลกเปลี่ยนได้ อาจใช้หน่วย มิลลิกรัมธาตุต่อกิโลกรัมของดิน (มก.ธาตุ/กก.) หรือหน่วย centimole/kilogram

                      (cmol/kg)

                    nutrient deficiency การขาดธาตุอาหาร : (1) ของดิน คือ สภาพของดินที่ระดับความเป็นประโยชน์ของธาตุตํ่าไม่
                      เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช

                    nutrient deficiency การขาดธาตุอาหาร : (2) ของพืช คือสภาพของพืชก็มีความเข้มของธาตุอาหารตํ่ากว่าระดับ

                      วิกฤติ (critical level)  ซึ่งไม่เพียงพอที่จะใช้เพื่อการเจริญและให้ผลผลิตตามปรกติ
                    nutrient depletion ธาตุอาหารหมด : การสูญเสียธาตุอาหารจากแหล่งสํารองในดิน ไปกับผลผลิตพืชที่เก็บเกี่ยว

                      การชะละลายและการกร่อนดินระหว่างการผลิตพืช ในปริมาณที่มากกว่าการเพิ่มเติมในรูปของปุ๋ยและการหมุนเวียน

                      กลับมาของธาตุอาหารในลักษณะต่างๆ  ทําให้บัญชีงบดุลธาตุอาหารติดลบ
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124