Page 111 -
P. 111
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
111
Mulder’s chart แผนภูมิของมุลเดอร์: แผนภูมิแสดงอันตรกิริยาของธาตุอาหารในดินที่มีต่อกัน ในแง่ความเป็น
ประโยชน์และการดูดใช้ของพืช ซึ่ง D. Mulder ได้นําเสนอ เมื่อ พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) โดยแบ่งอันตรกิริยา
ระหว่างธาตุอาหารเป็น 2 แบบ คือ ผลเชิงปฏิปักษ์ และ ผลด้านเสริม ดูรายละเอียดใน antagonism และ
synergism
multimicronutrient fertilizer ปุ๋ยจุลธาตุรวม : ปุ๋ยเคมีซึ่งมีจุลธาตุเป็นส่วนผสมหลายธาตุ
multinutrient mixtures; polynutrient fertilizer ปุ๋ยหลายธาตุ : ปุ๋ยเคมีซึ่งมีธาตุอาหารเป็นองค์ประกอบ
มากกว่าหนึ่งธาตุ
multiple cropping การปลูกพืชร่วมกันหลายชนิด: การปลูกพืชสองชนิดหรือมากกว่าสองชนิดในแปลงเดียวกันและ
ปีเดียวกัน โดยเลือกวิธีปฏิบัติได้หลายแบบ เช่น ปลูกพืชแต่ละชนิดตามลําดับ แต่เหลื่อมเวลากันบ้าง
(intercropping) หรือปลูกพืชหลายชนิดปะปนกันโดยสลับแถวหรือสลับแถบ (simultaneous system)
municipal compost : ปุ๋ยหมักเทศบาล : ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากการหมักขยะ และสิ่งปฏิกูลต่างๆซึ่งเก็บรวบรวมมาจาก
บ้านเรือนในแหล่งชุมชน มีปริมาณธาตุหลักใกล้เคียงกับปุ๋ยหมักทั่วไป
muriate of potash (MOP) มิวริเอตออฟโพแทช : ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (KCl) เป็นเกลือโพแทสของกรดมิวริ
เอติก (muriatic acid, HCl) มีโพแทชที่ละลายนํ้าได้ 60%K O ผลิตจากแร่โพแทชหลายชนิด เช่น ซิลไวต์
2
(sylvite, KCl) ซิลวิไนต์ (sylvinite, KCl.NaCl) และ คาร์นาลไลต์ (carnallite, KCl.MgCl .6H O) (muriatic
2
2
acid เป็นภาษาเคมีโบราณใช้เรียก HCl)
mycorrhiza ไมคอร์ไรซา : สภาวะอยู่รวมกันระหว่างรากับรากพืช พหูพจน์ mycorrhizae ราที่ร่วมกับรากพืช
เรียกว่าเชื้อราไมคอร์ไรซา แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ ectomycorrhizal fungi, endomycorrhizal fungi และ และ
ectendomycorrhizal fungi (fungus เป็นเอกพจน์ ส่วน fungi เป็นพหูพจน์) ที่มาของศัพท์ myces, G: รา ;
rhiza,G; ราก
…………………………………………………..