Page 131 -
P. 131

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                  นี่ขึ้นศาลไหน แต่ว่าส่วนใหญ่ก็เห็นว่าเนื่องจากผู้สูงศักดิ์มีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ไร่ขึ้นไป ถ้า
                  ตำ่ากว่า ๔๐๐ ไร่ก็เป็นคนธรรมดา เบี้ยตำ่าแสน นี่ก็หมายความว่าไม่ถึงแสน แสนไม่ได้อยู่ใน

                  จำานวนนี้ ตั้งแต่แสนขึ้นไปก็ไปอยู่อีกศาลหนึ่งครับ ขอให้พวกคุณไปช่วยคิดว่าเบี้ยหนึ่งแสน
                  จะไปขึ้นศาลไหน เพราะว่าพวกหนึ่งพิจารณาแต่เบี้ยตำ่าแสน อีกพวกหนึ่งพิจารณาแต่เบี้ย

                  พ้นแสนขึ้นไป ส่วนเบี้ยครบแสนพอดีนี่ไม่รู้ว่าจะขึ้นศาลไหน หรือจะขึ้นได้ทั้งสองศาล

                         แล้วมีคำาว่า แพละโลม  พ กับ ท ใช้แทนกันได้ แพละโลม ก็เป็น แทะโลม พ เป็น ท

                         ปักใต้ฝ่ายเหนือ แล้วมีคำาว่า ปักษ์ แปลว่า ปีก ปักษี ปักษา แปลว่า ผู้มีปีก แล้ว

                  คำาว่า ปักใต้ฝ่ายเหนือ ปัก ก็แปลว่า ฝ่าย ฝ่ายใต้ฝ่ายเหนือ

                         เห็นดู แปลว่า เอ็นดู

                         ฉลาย ก็ สลาย ฉ กับ ส อย่างที่บอกแล้วทางเหนือ ถ้าคำาว่า เฉกฉัน ก็ต้องกลาย

                  เป็น เสกสัน เพราะออกเสียง ฉ ไม่ได้

                         ทีนี้ ค้น ในความว่าทำาร้ายกันถึงค้น ทางเหนือใช้ ค้น ออกเสียงว่า โก๊น แปลว่า
                  เคล็ด ทำาร้ายกันถึงค้น แปลว่า ทำาร้ายกันถึงทำาให้เคล็ด

                         เถลว ก็จะตรงกับ เฉลว


                         ติงทุเลา แปลว่า ขอให้ระงับไว้ก่อน คือทางโน้นมาบอกว่า ไว้ก่อนเป็นทุเลา คือ
                  ยังไม่ถึงเวลา อีก ๓ วันถึงจะถึง แล้วจะเอาเงินมาให้ คือบอกว่าติงทุเลา คือไม่ได้คัดค้าน

                  ไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่มี แต่ว่าติงทุเลาไว้

                         ทีนี้คำาว่า ติง นั้นแปลว่า เคลื่อนไหว ไหว คือ ติง รู้สึกว่ากรมหมื่นท่านว่า นิ่งติงไป
                  คือ นิ่งไม่เคลื่อนไหว ทางเหนือ ท้วง คือ เคลื่อนไหว ติง คือ ไหวติง ท้วงติง กับ ไหวติง คือ

                  ทำาให้คดีนั้นเคลื่อนต่อไปไม่หยุดนิ่ง แต่ผมเองก็เพิ่งทราบว่า จ้วงเหนือ ใช้ ติง ในความว่า หยุด

                         ผู้กล่าวคดี ก็คือ ผู้ฟ้องร้องคดี ชูชกบอกนางอมิตดาว่า ใช่พี่จักร้อง คือ ไม่ใช่ว่าพี่จะ

                  ฟ้อง ฟ้องร้อง ใช้คู่กัน ก็เลยทำาให้นึกถึงว่าตามคติภาคกลาง บทกลอนจะต้องไม่ซำ้าคำาเลย
                  จะถือว่าดีที่สุด เช่นบอกว่า ยามไร้เด็ดดอกหญ้า แซมผม ๗ คำานี้ไม่ซำ้ากันเลย เรียกว่า แต่งดี

                  แต่ที่แต่งเลวนั้นก็ยกตัวอย่างเช่น องค์พระมุนีฤาษีดาบส องค์พระนักพรตก็พระสิทธา
                  เสด็จลีไลก็ไคลคลา แปลว่า ฤาษีเดินไปครับ ว่าเสียยืดยาว ถือว่าเป็นกลอนที่เลวมาก แต่

                  ภาคเหนือตรงกันข้ามครับ ถ้าเอาคำาที่เหมือนกันมารวมไว้ที่เดียวกันได้มากจึงจะถือว่าเก่ง
                  เพราะฉะนั้นจึงแต่งว่า ยกยากย้ายเตียวเดิน ๕ คำา พูดจาปากต้าน พูดก็คือพูด จาก็คือ

                  เจรจา ปากก็คือพูด ต้านก็โต้ตอบ ซึ่งวิธีนี้ก็ดีไปอย่างหนึ่ง เช่น เวลาพูดกับพวกจ้วงใน




                                                                                             129
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136