Page 136 -
P. 136
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จารึกชีวิต
ทำาให้เกิดภาษาถิ่นขึ้น ในมณฑลกุ้ยโจว และกวางสี มีภาษาจ้วงซึ่งมีภาษาไทถิ่นถง ๕๑ ภาษา
อยู่ห่างกัน ๒๐ กิโลเมตร ก็ฟังกันไม่รู้เรื่องแล้ว ถิ่นเดิมของภาษาไทจึงน่าจะอยู่บริเวณมณฑล
กวางสีในจีนต่อกับเมืองแถงในเวียดนาม
มีผู้เสนอว่าถิ่นเดิมของภาษาไทยน่าจะอยู่ในยูนนาน เช่น น่านเจ้า แต่ภาษาถิ่นรอบๆ
น่านเจ้ามีภาษาไทขาว ไทลื้อและไทเมา ซึ่งน่าจะถือว่าเป็นภาษาถิ่นภาษาเดียวกันเพราะ
สื่อสารระหว่างกันได้สะดวก
ส่วนผู้ที่เห็นตามรูธ เบนเนดิคต์ ว่าคนไทน่าจะอพยพจากหมู่เกาะอินโดนีเซียขึ้นไปทาง
เหนือนั้น ไม่มีหลักฐานทางภาษาศาสตร์หรือประวัติศาสตร์สนับสนุนและขัดกับหลักที่ว่า
วัฒนธรรมย่อมเคลื่อนย้ายจากต้นนำ้าทางเหนือลงไปทางใต้ทั่วโลก ทั้งนี้เพื่อลงไปสู่ดินแดนที่
อุดมสมบูรณ์กว่า แม้แต่พอล เบนเนดิคต์ ผู้เป็นลูกก็มิได้เห็นด้วย กลับเสนอว่า จุดศูนย์กลาง
การกระจายภาษาไทควรจะอยู่ที่จีนตอนใต้
ส่วนความเห็นที่ว่า ไทยอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น นายแพทย์
สุด แสงวิเชียร ได้สรุปว่า โครงกระดูกคนโบราณที่กาญจนบุรีเหมือนโครงกระดูกคนไทย แต่ก็
ไม่เคยสอบว่าเหมือนกับโครงกระดูกของมอญ เขมร พม่า หรือชวาหรือไม่ นายแพทย์ประเวศ
วะสี รายงานว่าชาวอีสานมีเฮโมโกลบินอีน้อยลง ส่วนจีนไม่มีเฮโมโกลบินอีเลย บัดนี้
นักวิชาการได้พิสูจน์แล้วว่า ถิ่นใดมีไข้จับสั่นชุม ถิ่นนั้นคนจะมีเฮโมโกลบินสูง ไม่ว่าจะเป็น
คนไทยหรือชาติอื่น นายแพทย์สมศักดิ์ พันธ์ุสมบุญ เสนอว่าหมู่เลือดของคนไทยคล้ายคลึง
กับชวาทางใต้มากกว่าชาวจีนทางเหนือของประเทศไทย แต่ศาสตราจารย์ถาวร วัชราภัย
ได้สำารวจกลุ่มเลือดและลักษณะของขากรรไกรแล้วสรุปว่าไทยดำาใกล้กับจีน แต่ไม่ใกล้กับ
ชาวมาเลย์และไม่ใกล้กับเขมร ส่วนเขมรใกล้กับชาวมาเลย์ทางกลุ่มเลือดและลักษณะของ
ขากรรไกร
อนึ่ง ศิลาจารึกในประเทศไทยก่อนสมัยสุโขทัยเป็นจารึกที่เขียนด้วยอักษรมอญและ
อักษรขอม เป็นภาษามอญ ภาษาขอม ภาษาบาลีสันสกฤต ไม่มีจารึกภาษาไทยเลย แสดงว่า
ก่อนสมัยสุโขทัย คนไทยคงเป็นชนกลุ่มน้อยเพราะถ้าเป็นคนชั้นปกครอง คงไม่ปล่อยให้ชาติอื่น
มาทำาจารึกภาษาต่างๆ โดยไม่ทำาจารึกภาษาไทยขึ้นไว้บ้าง
134