Page 134 -
P. 134

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




                ดา แปลว่า เตรียม ทางเหนือ วันสุกดิบ เรียกว่า วันดา พวกคนทั้งหลายก็จะมา
          ช่วยทำากับข้าวกับปลา เจ้าบ้านก็มีหน้าที่เลี้ยงดู แล้ววันรุ่งขึ้นจะเลี้ยงพระ เขาเรียกว่า วันดา

          เราก็ยังใช้คำาว่า ดา อยู่ ในวลีว่า แทบล้มประดาตาย คือ จวนเจียนจะตาย

                ขนานทอง ขนาน นี่ก็แปลว่า ทิด คนที่สึกจากพระ เพราะคำาว่า ขนาน ทางเหนือ
          คือผู้ที่เคยลงแพขนานบวช แล้วสึกออกมา ก็เลยเรียกขนาน แต่ต่อมาขนานก็กร่อนลง

          เหลือแต่ หนาน ถ้าคนไหนบวชเณรแล้วสึกออกมาก็เป็นน้อย ธรรมเนียมทางเหนือถ้า

          แต่งงานก็อยากจะเลือกแต่งงานกับน้อย เพราะว่าบวชตั้งแต่เล็ก จิตใจยังไม่บาปอะไรมาก
          แต่งกับน้อยดีกว่าแต่งกับหนาน แต่ถ้าน้อย ไม่มี หนานก็ไม่มี จะแต่งกับใครก็ได้

                ทีนี้ สิริเป็นเงินชั่ง สิริ แปลว่า รวม รวมเป็นเงินเท่านั้นชั่ง

                สับหลัง ก็คือ สลักหลัง


                อังกฤษคุลามลายู คุลา คือสมัยก่อนนี้ ถ้าเป็นคนต่างชาติ เราก็เรียกว่า แขก หมด
          เดิมเรียกว่า ฝรั่ง อย่างกับพวกลังกา ไม่ใช่พวกผิวขาว ผิวดำาก็เป็นฝรั่งดำา ฝรั่งแดง ฝรั่งขาว

          แล้วต่อมาก็ใช้ แขก แทน พระเรียมมาแขกน้อง ถึงวง ก็มาเยี่ยมนั่นเอง ภาคเหนือคำาว่า
          คุลา ก็แปลว่า คนต่างชาติ เราก็เรียกว่า คุลา แต่ออกเสียงเป็น กุลา เช่น กุลาขาว กุลาดำา

          กุลาด่อน กุลา คือ คนต่างชาติ ด่อน ก็แปลว่า สีขาว คือ ฝรั่ง

                แล้วก็มีคำาว่า ขอม ของทางภาคเหนือก็คือมอญ ส่วนขอมของทางสุโขทัยกับอยุธยา
          ก็คือเขมร เพราะคำาว่า ขอม มาจากคำาว่า โกรม มาเป็น กรอม แล้วกลายเสียงเป็น ขอม

          แปลว่า ชนต่างชาติที่อยู่ทางทิศใต้ ขอมของล้านนาก็คือมอญ เมื่อไทยลงมาถึงเชียงราย
          เชียงแสน มีมอญอยู่เต็มไปหมด เรียกว่า ขอม ขอมดำา แล้วทางสุโขทัย มีเขมรอยู่ทางใต้ก็

          เรียกว่า ขอม ส่วนคนไทยในเมืองจีนก็เรียกไทยในอยุธยาว่า ขอม คือเป็นคนต่างชาติที่อยู่
          ทางทิศใต้ เพราะฉะนั้นขอม มาจากคำา โกรม นั่นเอง



                                       จบลงด้วยเวลาเท่านี้ครับ




















          132
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139