Page 137 -
P. 137

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




                                                 วันยุทธหัตถี*



                                                                   ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร


                         คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้มอบหมายให้นายประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต
                  คำานวณวันสำาคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


                         นายประเสริฐ ณ นคร ได้มีหนังสือเรียนประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
                  โดยได้ให้เหตุผลในการคำานวณวันสำาคัญของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดังนี้

                         ๑. วันเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรฯ ทางจันทรคติ คือ วันจันทร์ เดือน ๖

                  ขึ้น ๙ คำ่า จ.ศ. ๙๖๗ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ พลตำารวจตรีสุชาติ
                  เผือกสกนธ์ ก็ได้คำานวณไว้ตรงกับข้าพเจ้า


                         เราสองคนเห็นพ้องต้องกันว่า เราควรยึดวันทางสุริยคติเป็นเกณฑ์ เพราะคนไทยปัจจุบัน
                  เคยชินกับวันทางสุริยคติ และไม่ค่อยพูดถึงวันขึ้นแรมทางจันทรคติกันแล้ว อนึ่ง วันทาง

                  จันทรคติจะตรงกับวันที่เท่าใดในปีต่อๆ ไป ก็จะต้องรอโหรคำานวณแล้วประกาศให้คนทั่วไป
                  ทราบเสียก่อน ตัวอย่างเช่น คนทั่วไปจะไม่ทราบว่าวันขึ้น ๘ คำ่า เดือน ๖ ปีนี้ตรงกับวันที่ ๑๕

                  พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แต่จะตรงกับวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ และปีต่อๆ ไป
                  ตามเกณฑ์ ของโหรผู้ทำาปฏิทินปัจจุบันจะอยู่ระหว่างวันที่ ๑๘ เมษายน ถึงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม

                         เมื่อวันเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนเรศวรฯ ตรงกับวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘

                  จึงควรกำาหนดวันที่ ๒๕ เมษายนของทุกปีเป็นวันที่ระลึกถึงวันเสด็จสวรรคต

                         ๒. วันยุทธหัตถี คือวันจันทร์ เดือน ๒ แรม ๒ คำ่า จ.ศ. ๙๕๔ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๑๘

                  มกราคม พ.ศ. ๒๑๓๕ นายฉันทิชย์ กระแสสินธ์ุ คำานวณผิดว่าตรงกับวันที่ ๒๕ มกราคม
                  เพราะการคำานวณต้องเทียบกับวันหลักคือ วันเถลิงศก เปลี่ยนจุลศักราช ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๕
                  เมษายนเป็นส่วนใหญ่ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๓ มาจนถึงปัจจุบัน และตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน

                  ในบางปี

                         เนื่องจากปีจุลศักราชยาวกว่าปีตามปฏิทินสากล เมื่อจุลศักราช ๑ วันเถลิงศกตรงกับ

                  วันที่ ๒๒ มีนาคม ต่อมาเลื่อนเป็นวันที่ ๒๓, ๒๔, ๒๕ ฯลฯ มีนาคม มาจนถึงปียุทธหัตถี จ.ศ. ๙๕๔
                  วันเถลิงศกตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๙ เมษายน นายฉันทิชย์ทราบว่า วันเถลิงศกเป็นวันพฤหัสบดี

                  แต่คิดว่าตรงกับวันที่ ๑๖ เมษายน เหมือนในปัจจุบัน จึงคำานวณวันยุทธหัตถีล่ากว่าความจริง



                         *จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒๕๕๒. ๙๐ ปี ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ:
                  อักษรสยามการพิมพ์.

                                                                                             135
   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142