Page 135 -
P. 135

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




                                           ถิ่นที่อยู่ของชนชาติไทย*



                                                                   ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร


                         เมื่อชาวตะวันตกในยุคแสวงหาอาณานิคมมาพบกลุ่มชาวไทยนั้น ชาวไทยได้กระจาย
                  อยู่ทั่วไปในอาณาเขตที่กว้างขวางทางตะวันตก เริ่มตั้งแต่ ไทอาหม ไทพ่าเก ไทอ่ายตอน ไทคำาตี่

                  ในแคว้นอัสสัม อินเดีย ไทคำาตี่ ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทเมา ในพม่า ไทเมาหรือไทเหนือ ไทลื้อ

                  ในสิบสองพันนา มณฑลยูนนานประเทศจีน ไทยในประเทศไทย ไทในกลันตัน มาเลเซีย
                  ไทในประเทศลาว ไทจ้วง ไทโถ ในมณฑลกุยโจวและมณฑลกวางสีแห่งประเทศจีน ไทนุง
                  ไทดำา ไทแดง ไทขาว ในเวียดนาม ไปจนถึงไทหลีในเกาะไหหลำา ประเทศจีน ปัจจุบันมีคนไท

                  ทุกประเทศรวมกันกว่า ๑๐๐ ล้านคน

                         หลี ฟัง ก้วย (Li Fang-Kuei) ชาวอเมริกันเชื้อสายจีนได้ไปศึกษาภาษาถิ่นไทและ

                  ภาษาจีนที่ใกล้เคียงกับภาษาไทในเมืองจีน รวม ๓๕ ภาษา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ และได้เสนอให้
                  แบ่งแยกภาษาตระกูลไทออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ภาษาตระกูลไทกลุ่มเหนือ กลุ่มกลาง และกลุ่ม

                  ตะวันตกเฉียงใต้ ทั้งนี้โดยอาศัยศัพท์ในชีวิตประจำาวันที่แต่ละกลุ่มใช้ร่วมกัน แต่ใช้ผิดกัน
                  ระหว่างกลุ่ม เช่น ไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ใช้ “หนวด” แต่ไทกลุ่มเหนือและกลุ่มกลาง

                  ใช้ “มุม” และศัพท์ที่มีเสียงพยัญชนะควบ เช่น คำาในภาษาไทดั้งเดิมที่ส่วนกลางไปเป็น “ตรา”
                  ไทกลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ใช้ “ตา” ไทกลุ่มเหนือใช้ “ทา” ก็มี “รา” ก็มี ส่วนไทกลุ่มกลางใช้ “ฮา”

                         การแบ่งเช่นนี้พอดีตรงกับถิ่นที่อยู่ทางภูมิศาสตร์คือ กลุ่มไทเหนือ ได้แก่ ภาษาจ้วง

                  ไทย้อย และภาษาถิ่นในมณฑลกุ้ยโจวและมณฑลกวางสี ภาษาไทกลุ่มกลาง ได้แก่ ภาษาโท้
                  ภาษานุง และภาษาไทถิ่นอื่นในมณฑลกวางสีตอนใต้และเวียดนาม ภาษาไทกลุ่มตะวันตก-

                  เฉียงใต้ ได้แก่ ภาษาไทอาหม ภาษาพ่าเก ไทอ่ายตอน ในแคว้นอัสสัมอินเดีย ไทใหญ่ ไทเขิน
                  ไทลื้อ ไทเมา ในพม่า ไทลื้อ ไทเมา ไทดำา ไทขาว ไทหย่าในประเทศจีน ไทในประเทศไทย

                  ไทในประเทศลาว ไทในกลันตัน มาเลเซีย ไทดำา ไทขาว ไทแดงในเวียดนาม

                         ตามหลักฐานทางภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์ถิ่นเดิมของภาษาไทยน่าจะอยู่บริเวณ

                  กวางสีของจีนต่อกับเมืองแถงของเวียดนาม ศาสตราจารย์เก๊ดนีย์ได้เสนอว่า ภาษาเกิดที่ใด
                  อยู่ในที่นั้นมานานย่อมจะพูดแตกต่างกันออกไปจนเกิดภาษาถิ่นขึ้นมาหลายภาษา เช่น

                  ในเกาะอังกฤษ มีภาษาถิ่นมากสื่อสารระหว่างกันได้ลำาบาก แต่ภาษาอังกฤษในอเมริกาเดิน
                  ทางไปพันกิโลเมตรยังสื่อสารกันได้สะดวก เพราะภาษาอังกฤษอยู่ในอเมริกาไม่นานพอที่จะ



                         *จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๒๕๕๒. ๙๐ ปี ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ:
                  อักษรสยามการพิมพ์.

                                                                                             133
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140