Page 139 -
P. 139

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




                                                  ลายสือไทย*




                  กำาเนิดลายสือไทย


                         พ่อขุนรามคำาแหงมหาราช ทรงประดิษฐ์ลายสือไทยหรือตัวหนังสือไทยขึ้นเมื่อ
                  มหาศักราช ๑๒๐๕ (พุทธศักราช ๑๘๒๖) นับมาถึงพุทธศักราช ๒๕๒๖ ได้ ๗๐๐ ปีพอดี

                  ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปวัฒนธรรม และวิชาการต่างๆ และ
                  ได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสืบต่อกันมา โดยอาศัยลายสือไทยของพระองค์ท่านเป็นส่วนใหญ่

                  ก่อนสมัยสุโขทัย ชาติไทยเคยรุ่งเรืองอยู่ที่ไหน อย่างไร ไม่มีหลักฐานยืนยันให้ทราบแน่ชัด
                  แต่เมื่อพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ลายสือไทยขึ้นแล้ว มีศิลาจารึกและพงศาวดาร

                  เหลืออยู่เป็นหลักฐานยืนยันว่า ชาติไทยเคยรุ่งเรืองมาอย่างไรบ้างในยุคสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี
                  และรัตนโกสินทร์  ในโอกาสครบรอบ  ๗๐๐  ปีนี้  คนไทยทุกคนจึงควรน้อมรำาลึกถึง

                  พระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่านโดยพร้อมเพรียงกัน

                         ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช มีข้อความปรากฏว่า “เมื่อก่อน
                  ลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำาแหงหาใคร่ใจในใจแล่ใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้

                  จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ใว้” หา แปลว่า ด้วยตนเอง (ไทขาวยังใช้อยู่) ใคร่ใจในใจ แปลว่า คำานึงในใจ

                  (จากพจนานุกรมไทอาหม) ข้อความที่อ้างถึงแสดงว่าพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์
                  ตัวหนังสือไทยแบบที่จารึกไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖

                         ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้กล่าวไว้ในตำานานอักษรไทย ซึ่งตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘

                  ว่า คำาที่ใช้ในจารึกมีคำานี้อยู่ต่อคำา ลายสือ ทุกแห่ง (สามแห่ง) หมายความว่าหนังสือไทยอย่างนี้
                  ไม่มีอยู่ก่อน มิได้ประสงค์จะทรงแสดงว่า หนังสือของชนชาติไทยพึ่งมีขึ้นต่อเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖

                  เซเดส์ยังเห็นว่า พวกไทยน้อยซึ่งมาอยู่ทางลำานำ้ายม ชั้นแรกเห็นจะใช้อักษรไทยซึ่งได้แบบ
                  มาจากมอญ** ต่อมาขอมมีอำานาจปกครองสุโขทัย พวกไทยคงจะศึกษาอักษรขอมหวัดที่ใช้

                  ในทางราชการ แล้วจึงแปลงอักษรเดิมของไทยมาเป็นรูปคล้ายตัวอักษรขอมหวัด ถ้าประสงค์
                  จะสมมติว่าอักษรไทเดิมเป็นอย่างไร ควรจะถือเอาอักษรอาหม (ใช้ในอัสสัม) กับอักษรไทน้อย

                  (ใช้ในอีสานและประเทศลาว) นี้เป็นหลัก นายฉำ่า ทองคำาวรรณ ได้เขียนเรื่อง “สันนิษฐาน
                  เทียบการเขียนอักษรไทยกับอักษรขอม ในสมัยพ่อขุนรามคำาแหง” ไว้ และได้สันนิษฐานว่า

                  อักษรพ่อขุนรามคำาแหงทุกตัวดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด



                         *ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร. ๒๕๓๔. งานจารึกและประวัติศาสตร์. นครปฐม: โรงพิมพ์
                  ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ.
                         **ตำานานอักษรไทย หน้า ๑ หน้า ๖ และหน้า ๑๑.

                                                                                             137
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144