Page 143 -
P. 143

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                  คุณวิเศษของลายสือไทย

                         ๑. ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช มีลักษณะพิเศษกว่าตัวอักษรของชาติอื่น

                  ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของชาวอินเดีย กล่าวคือ ชาติอื่นขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้โดยมิได้
                  ประดิษฐ์พยัญชนะและสระเพิ่มขึ้นให้พอกับเสียงพูดของคนในชาติ ยกตัวอย่างเช่น เขมรโบราณ

                  เขียน เบก อ่านออกเสียงเป็น เบก แบก หรือ เบิก ก็ได้ ไทใหญ่เขียน ปืน อ่านออกเสียงเป็น
                  ปืน เปน หรือ แปน ก็ได้ เวลาอ่านจะต้องดูความหมายของประโยคก่อนจึงจะอ่านออกเสียง

                  ได้ถูกต้อง

                         พ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ตัวพยัญชนะ สระ อีกทั้งวรรณยุกต์ขึ้น เป็นต้นว่า

                  ได้เพิ่ม ข ค ซ ฏ ด บ ฝ ฟ อ สระอือ แอ เอือ ฯลฯ ไม้เอก ไม้โท (ในรูปกากบาท) จนทำาให้
                  สามารถเขียนคำาไทยได้ทุกคำา

                         ๒. อักขรวิธีที่ใช้ สามารถเขียน ตาก-ลม แยกออกไปจาก ตา-กลม ทำาให้อ่านข้อความ

                  ได้ถูกต้องไม่กำากวม กล่าวคือ ถ้าเป็นอักษรควบกลำ้ำาให้เขียนติดกัน ส่วนตัวสะกดให้เขียนแยก
                  ห่างออกไป เช่น ตา-กลม เขียนเป็น ตา กลำ ส่วน ตาก-ลม เขียนเป็น ตา ก ลำ

                         ๓. ตัวหนังสือแบบพ่อขุนรามฯ ยังมีลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ นำาสระมาเรียงอยู่

                  ระดับเดียวกับพยัญชนะแบบเดียวกับตัวหนังสือของชาติตะวันตกทั้งหลาย น่าเสียดายที่สระ
                  เหล่านั้นถูกดึงกลับไปไว้ข้างบนตัวพยัญชนะบ้าง ข้างล่างบ้างในสมัยต่อมา ทั้งนี้เพราะคนไทย

                  เคยชินกับวิธีเขียนข้างบนข้างล่างตามแบบขอมและอินเดีย ซึ่งเป็นต้นตำารับดั้งเดิม ถ้ายังคง
                  เขียนสระแบบพ่อขุนรามฯ อยู่ เราจะประหยัดเงินค่ากระดาษลงได้หนึ่งในสามทีเดียว เพราะ

                  ทุกวันนี้จะต้องทิ้งช่องว่างระหว่างบรรทัดไว้ เพื่อเขียนส่วนล่างของ ฏ ฐ สระอุ อู วรรณยุกต์
                  และสระอือ  รวมเป็นช่องว่างที่ต้องเตรียมไว้สี่ส่วน ให้เขียนได้ไม่ซ้อนกัน ยิ่งมาถึงยุคคอมพิวเตอร์

                  การเก็บข้อมูล และการค้นหาข้อมูลจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้มหาศาล

                         ๔. ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของตัวหนังสือพ่อขุนรามคำาแหงมหาราช คือ

                  พยัญชนะทุกตัวเขียนเรียงอยู่บรรทัดเดียวกัน ไม่มีตัวพยัญชนะซ้อนกันเหมือนตัวหนังสือของ
                                                                        อฏ
                  เขมร มอญ พม่า และไทใหญ่ เช่น เขียน อฏฐ แทนที่จะเป็น   เซเดส์ได้กล่าวไว้ว่า การที่
                                                                         ฐ
                  พระองค์ได้ทรงแก้ไขตัวอักษรของชาวสุโขทัยให้เรียงเป็นแนวเดียวกันได้นั้นเป็นการสำาคัญยิ่ง
                  แลควรที่ชาวสยามในปัจจุบันนี้ จะรู้สึกพระคุณ และมีความเคารพนับถือที่พระองค์ได้ทรง

                  จัดแบบอักษรไทยให้สะดวกขึ้นข้อนี้ให้มาก อนึ่ง ในสยามประเทศทุกวันนี้ การคิดแบบ
                  เครื่องพิมพ์ดีดและการพิมพ์หนังสือได้เจริญรุ่งเรือง เป็นประโยชน์ยิ่งในวิชาความรู้แลทาง

                  ราชการ นับว่าเพราะพ่อขุนรามคำาแหง ได้ทรงพระราชดำาริเปลี่ยนรูปอักษรขอมแลเรียง
                  พยัญชนะเป็นแนวเดียวกันให้สะดวกไว้ ส่วนบรรดาประเทศที่ยังใช้วิธีซ้อนตัวพยัญชนะ เช่น


                                                                                             141
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148