Page 146 -
P. 146
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จารึกชีวิต
พ.ศ. ๑๙๐๐ ยิ่งกว่านั้นยังได้เริ่มใช้ไม้หันอากาศในศิลาจารึกหลักที่ ๕ พ.ศ. ๑๙๐๔ ในขณะที่
ศิลาจารึกหลักที่ ๘ ด้านที่ ๑ และ ๒ พ.ศ. ๑๙๐๒ ยังไม่ใช้ไม้หันอากาศ สรุปได้ว่า พระเจ้าลิไทย
ทรงใช้ไม้หันอากาศในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๐๒ ถึง ๑๙๐๔ โดยวางไว้ข้างบนตัวสะกด เริ่มจาก
แม่กงก่อน ส่วนแม่กก กน ฯลฯ คงใช้พยัญชนะสองตัวแบบลายสือไทยของพ่อขุนรามคำาแหงอยู่
ต่อมาจึงใช้ไม้หันอากาศกับตัวสะกดแม่อื่นๆ ด้วย ทั้งนี้สันนิษฐานได้ว่า ไม้หันอากาศเป็น
เลขสองรูปหนึ่ง เขียนไว้บนตัวสะกดให้เข้าใจว่าเหมือนกับเขียนตัวสะกดสองครั้ง ในตัวอักษร
ไทยยวน ไม้หันอากาศและไม้โท ใช้รูปเดียวกัน การเขียนคำาสมัยพระเจ้าลิไทย พยัญชนะต้น
สระ และตัวสะกดเว้นช่องไฟเท่าๆ กัน และอักษรควบก็เขียนแยกจากกัน
อักษรสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
อักษรไทยได้วิวัฒนาการต่อมาจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ตัวอักษรไทยสมัยนั้น
มีรูปร่างคล้ายกับตัวอักษรไทยปัจจุบันมาก เข้าใจว่าเมื่อมีผู้แต่งหนังสือจินดามณีขึ้นเป็นหนังสือ
แบบเรียนในสมัยนั้น ทำาให้หนังสือแพร่หลายไปสู่ประชาชนโดยทั่วๆ ไป หนังสือแบบเรียน
ช่วยให้รูปแบบของตัวหนังสือคงตัวอยู่ รูปตัวอักษรจึงเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกน้อยมาก
อักษรอริยกะของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประดิษฐ์อักษร
อริยกะขึ้นเพื่อใช้เขียนภาษาบาลีโดยอาศัยหลักการเขียนแบบตัวหนังสือของชาวยุโรป พระองค์
ทรงนำาสระมาอยู่บรรทัดเดียวกับพยัญชนะ และเขียนสระทุกตัวไว้หลังพยัญชนะ เมื่อขึ้นต้น
ประโยคใช้อักษรตัวใหญ่นำาแบบภาษาอังกฤษ แต่ตัวหนังสืออริยกะมิได้แพร่หลายไปถึงหมู่
ประชาชน ซึ่งยังคงเขียนภาษาไทยตามหลักอักขรวิธีเดิม
การปฏิรูปตัวอักษรในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำาริปฏิรูป
ตัวอักษรไทย โดยประดิษฐ์สระใหม่เป็นรูปสระลอยไว้เขียนข้างหลัง และอยู่บนบรรทัดเดียวกัน
กับพยัญชนะตามแบบตัวหนังสือของชาวยุโรป แต่ประชาชนชาวไทยก็ไม่นิยมและคงเขียน
ตัวหนังสือแบบเดิมตามความเคยชินต่อไป
การปฏิรูปอักขรวิธีสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ปฏิรูปวิธีเขียนตัวหนังสือ
ไทยให้ง่ายเข้า โดยตัดพยัญชนะที่เสียงซำ้ากันออกเสียบ้าง เช่น ศ ษ และ ส ให้ใช้ ส เพียง
144