Page 149 -
P. 149

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                         การที่อีสานและประเทศลาวใช้ตัวหนังสือธรรมสำาหรับจารชาดกและคัมภีร์ทางศาสนา
                  และใช้ตัวหนังสือไทน้อยจารเรื่องทางโลกนั้น ก็ตรงกับคตินิยมทางเชียงใหม่ ทั้งนี้ ตามคำา

                  บอกเล่าของท่านมหาหมื่น ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์แห่งเชียงใหม่

                         หนังสือพื้นเมืองหรือตัวธรรมนี้กลายมาจากหนังสือมอญที่ใช้อยู่ในลำาพูน ดังปรากฏใน
                  ศิลาจารึกภาษามอญ ประมาณ พ.ศ. ๑๖๐๐ ถึง ๑๘๐๐ ปัญหามีอยู่แต่เพียงว่า


                         ๑. ในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๐๐๐ เศษนั้น จารึกในล้านนาใช้อักษรฝักขาม
                  อย่างเดียว และเลิกใช้ตัวพื้นเมืองไปเลย แล้วกลับมาฟื้นฟูใช้ตัวหนังสือพื้นเมืองเมื่อนิกาย

                  ลังกาวงศ์ใหม่นำามาใช้จารข้อความคัมภีร์ที่ได้สังคายนาเรียบร้อยแล้ว หากคัมภีร์ใดเขียน
                  อักษรฝักขามถือว่ายังไม่ได้ชำาระให้ถูกต้อง หรือ

                         ๒. ในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๐๐๐ ตัวหนังสือพื้นเมืองใช้จารเฉพาะคัมภีร์

                  และชาดก เพราะตัวหนังสือพื้นเมืองเหมาะสำาหรับเขียนภาษาบาลีมากกว่าตัวหนังสือภาคกลาง

                  ส่วนตัวฝักขามใช้สำาหรับจารภาษาไทยและเหมาะสำาหรับจารศิลาจารึกโดยเฉพาะ เพราะ
                  การจารศิลาเป็นหนังสือตัวกลมๆ แบบตัวพื้นเมืองทำาได้ยากมาก

                         ผู้เขียนเองเชื่อตามข้อสันนิษฐานข้อแรก เพราะถ้ายังใช้ตัวอักษรพื้นเมืองอยู่ในช่วงนั้น

                  ก็น่าจะปรากฏตัวหนังสือดังกล่าวปนอยู่ในจารึกตัวฝักขามบ้าง แต่ไม่ปรากฏเลย ศิลาจารึกใน
                  เชียงตุงและประเทศลาวก็ปรากฏเช่นเดียวกัน คือในยุคต้นสมัยพระเจ้าติโลกราช จารึกเชียงตุง

                  และประเทศลาวใช้อักษรฝักขามหรือไทน้อยอยู่ก่อน  มายุคหลังจึงใช้อักษรพื้นเมืองหรือตัวธรรม

                         อนึ่ง อักษรฝักขามคงมีอิทธิพลต่อหนังสือไทน้อย และตัวหนังสือพื้นเมืองคงมีอิทธิพล
                  ต่ออักษรธรรมของอีสานและประเทศลาวเป็นอันมาก เนื่องจากยุคทองของศาสนาและ

                  วรรณกรรมล้านนาตกอยู่ในราว พ.ศ. ๒๐๖๐ และพอถึง พ.ศ. ๒๐๖๖ พระเจ้าโพธิสาลราช
                  แห่งประเทศลาว ได้อภิเษกกับพระธิดาของพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์เชียงใหม่ในคัมภีร์

                  พระไตรปิฎก และเถระ มหาเถระไปสู่ประเทศลาว และ พ.ศ. ๒๐๙๐ พระเจ้าชัยเชษฐาธิราช
                  ได้ทรงนำาเอาวรรณคดี ชาดกและช่างฝีมือจากเชียงใหม่ไปประเทศลาว ตัวหนังสือไทน้อย

                  ของประเทศลาวจึงได้รับอิทธิพลจากตัวหนังสือฝักขามอยู่บ้าง  ส่วนอีสานสมัยโบราณนั้น
                  รับวัฒนธรรมจากประเทศลาวได้สะดวกกว่าจากอยุธยา เพราะภูมิประเทศบังคับ ตัวอักษร

                  ไทน้อยของอีสาน จึงได้รับอิทธิพลจากตัวหนังสือฝักขามของเชียงใหม่ โดยผ่านทางประเทศ
                  ลาวอีกทอดหนึ่ง


                         เท่าที่ค้นพบแล้ว ตัวหนังสือไทน้อยในอีสานที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏในศิลาจารึกวัด
                  แดนเมือง พ.ศ. ๒๐๗๓ ส่วนในประเทศลาว ศิลาจารึกตัวไทน้อยเก่าแก่ที่สุดได้แก่จารึกวัด

                  บ้านสังคะโลก พ.ศ. ๒๐๗๐ แต่มีจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่วัดสีสะเกศเขียนด้วยอักษรตัวธรรม

                                                                                             147
   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154