Page 147 -
P. 147
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ตัวเดียว เช่นเขียนว่า สมเด็ดสังคนายกซงสึกสาในพระนะคอน แทนที่จะเขียนว่า สมเด็จ
สังฆนายกทรงศึกษาในพระนครอย่างเดิม แต่ประชาชนไม่นิยมจึงต้องเลิกไป เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘
ตัวอักษรไทยในล้านนา อีสาน และประเทศใกล้เคียง
ตัวอักษรที่ใช้บันทึกภาษาไทยในล้านนามีอยู่ ๒ ชนิดคือ
๑. ตัวฝักขาม เป็นตัวอักษรที่มีรูปลักษณะยาว ซึ่งกลายมาจากตัวอักษรของพ่อขุน
รามคำาแหง
๒. ตัวหนังสือพื้นเมือง หรืออักษรธรรมล้านนา มีลักษณะกลม และกลายมาจาก
ตัวหนังสือมอญ
อักษรตัวฝักขาม มีรูปลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือไทน้อยของอีสานและของ
ประเทศลาว ต่อมาประเทศลาวเปลี่ยนชื่อจากตัวอักษรไทน้อยไปเรียกว่า “อักษรลาว” แทน
พระมหาสุมนเถระนำาอักษรสุโขทัยเข้าไปสู่ล้านนาพร้อมกับศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์
เก่า เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๒ ดังปรากฏหลักฐานในจารึกหลักที่ ๙ (วัดป่าแดง) และจารึกหลักที่ ๖๒
(วัดพระยืน จังหวัดลำาพูน) ตำานานมูลศาสนาได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าในระยะเดียวกันนี้
เจ้าปิยทัสสีนำาศาสนาไปอโยธยา เจ้าสุวรรณคิรีนำาศาสนาไปเมืองชะวา (หลวงพระบาง)
เจ้าเวสภูไปเมืองน่าน อีกสี่องค์อยู่ที่เมืองกลางคือ สองแคว (พิษณุโลก) แสดงว่าพระเจ้าลิไทย
เป็นองค์ศาสนูปถัมภก จนเป็นที่ยอมรับว่าพิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย
ในขณะนั้นเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธในแถบนี้ ศาสนานิกายลังกาวงศ์เก่าได้แพร่หลาย
เข้าไปในแว่นแคว้นใกล้เคียงในยุคนี้ ดังปรากฏว่าตัวหนังสือฝักขามในล้านนา ตัวหนังสือ
ไทน้อยในอีสานและลาว มีรูปร่างคล้ายตัวอักษรสมัยพระเจ้าลิไทย แทนที่จะใกล้ไปข้าง
ตัวอักษรพ่อขุนรามคำาแหง การแผ่ศาสนาเข้าไปมีผลยั่งยืนนานกว่าการแผ่อำานาจเข้าไปด้วย
กำาลังรบ ทั้งนี้เพราะในสมัยโบราณวัดทำาหน้าที่เป็นโรงเรียนด้วย
ตัวหนังสือพื้นเมือง มีรูปลักษณะใกล้เคียงกับตัวหนังสือธรรมของอีสานและประเทศ
ลาว ตัวหนังสือธรรมของไทยยวน ไทลื้อ และไทเขิน คล้ายคลึงกันจนสามารถอ่านกันได้
โดยสะดวก ไม่ว่าจะเขียนโดยไทยในเชียงรุ้ง เชียงตุง เวียงจันทน์ เชียงใหม่ หรืออุบล
หลักฐานจากจารึก ศิลาจารึกภาษาไทยในล้านนาจารึกด้วยตัวฝักขามมาตั้งแต่หลักแรก
คือจารึกวัดพระยืน พ.ศ. ๑๙๑๔ หลักที่สองอยู่ที่พระสุวรรณมหาวิหาร เชียงราย พ.ศ. ๑๙๕๔
ในเชียงใหม่คงใช้ตัวฝักขามจารศิลาจารึกมาจนถึง พ.ศ. ๒๑๒๔ เป็นอย่างน้อย แต่ที่เชียงราย
และพะเยาได้เริ่มใช้อักษรพื้นเมืองแทรกเข้าไปในศิลาจารึกตัวฝักขามใกล้ๆ กับ พ.ศ. ๒๐๓๐
โดยในชั้นแรกมีตัวอักษรพื้นเมืองเพียงห้าหกตัวแล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามลำาดับ จนกลายเป็น
145