Page 148 -
P. 148

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




          จารึกด้วยตัวหนังสือพื้นเมืองไปในที่สุด จารึกหลักที่ ๗๔ (วัดช้างคำ้า เมืองน่าน) พ.ศ. ๒๐๙๑
          ใช้อักษรตัวพื้นเมือง


                นายฮันส์เพนธ์ รายงานว่า จากหลักฐานจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่เชียงใหม่ ตัวหนังสือ
          ธรรมปรากฏครั้งแรก พ.ศ. ๒๐๐๘ ต่อมาจารึกที่ฐานพระมีตัวฝักขามเข้าไปแทรกเพิ่มมากขึ้น
          ทุกที จนกลายเป็นหนังสือฝักขามไปในที่สุด


                เนื่องจากล้านนาตกไปเป็นของพม่าตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๐๑ และแม้จะมารวมอยู่กับไทยบ้าง
          บางคราว แต่ตลอดระยะเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี ล้านนาคงตกอยู่ในความครอบครองของพม่า

          เป็นส่วนใหญ่ ตัวหนังสือพื้นเมืองกับหนังสือพม่าคล้ายคลึงกันมาก ล้านนาจึงใช้ตัวหนังสือ
          พื้นเมืองเรื่อยมา  แม้สมัยเจ้ากาวิละจะได้พยายามนำาหนังสือฝักขามมาจารจารึกอีก แต่ประชาชน

          ก็ไม่นิยม คงใช้ตัวหนังสือพื้นเมืองมา จนกระทั่ง ส.ธรรมภักดี พิมพ์คัมภีร์พระธรรมและชาดก
          ลงในใบลานเป็นตัวหนังสือภาคกลาง ซึ่งอ่านได้สะดวกกว่าตัวหนังสือพื้นเมืองมาก และอาจมี

          การบังคับไม่ให้สอนหนังสือท้องถิ่นในระยะนั้นด้วย พระภิกษุสามเณรจึงเลิกเรียนตัวหนังสือ
          พื้นเมืองไป

                ข้อสันนิษฐาน ศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์ใหม่เข้ามาสู่เชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๑๙๗๓

          พวกใหม่นี้กล่าวหาว่าพวกเก่าเป็นพระที่ไม่ถูกต้องจึงเกิดเรื่องทะเลาะกัน พระเจ้าสามฝั่งแกน

          แห่งเชียงใหม่เข้าข้างพระภิกษุลังกาวงศ์เก่า จึงไล่พวกลังกาวงศ์ใหม่ออกจากเชียงใหม่ไปตั้ง
          รากฐานอยู่ที่เชียงรายและเชียงตุง  ต่อมาพระเจ้าติโลกราชขึ้นเสวยราชย์เมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๔
          และทรงสนับสนุนนิกายลังกาวงศ์ใหม่ จนได้สังคายนาศาสนาครั้งแรกในประเทศไทยที่วัด

          เจดีย์เจ็ดยอด เมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๐ เนื่องจากความเชื่อถือว่า พระภิกษุลังกาวงศ์เก่าไม่ควรนับว่า

          เป็นพระภิกษุ เพราะอุปสมบทโดยมีพระภิกษุร่วมพิธีเพียง ๔ รูป ไม่ครบองค์คณะมาแต่ครั้ง
          พระมหาสุมนเถระ การผูกสีมาวัดจึงไม่สมบูรณ์ การกัลปนาของให้วัดก็ย่อมไม่เป็นผล ต้อง
          ถวายของและที่ดินให้วัดกันใหม่หมด สันนิษฐานได้ว่าพระเจ้าติโลกราชคงจะถอนสีมาวัด

          ทุกวันในเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ในล้านนา แล้วผูกสีมาทำากัลปนากันใหม่หมด จารึกเดิม

          ก็คงถูกรื้อถอนหมด ที่เชียงใหม่จึงมีจารึกภาษาไทยเริ่มแต่สมัยพระเจ้าติโลกราชมาเท่านั้น

                พวกลังกาวงศ์ใหม่คงจะริเริ่มจารึกที่ฐานพระเป็นตัวพื้นเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก ต่อมา
          เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าติโลกราชแล้ว พระเจ้าแผ่นดินเชียงใหม่องค์ต่อมายอมให้ราษฎรถือนิกายใด

          ก็ได้ตามชอบใจ ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๐๕๘ พระเมืองแก้วเป็นประธาน
          บวชพระภิกษุในนิกายลังกาวงศ์เก่าถึง ๑,๐๑๑ รูป แต่บวชในนิกายลังกาวงศ์ใหม่เพียง ๑๐๘ รูป

          แสดงว่าประชาชนนิยมนิกายลังกาวงศ์เก่าซึ่งไม่เคร่งครัดเท่านิกายลังกาวงศ์ใหม่ ฉะนั้นจารึก
          ที่ฐานพระต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช้อักษรฝักขามตามความนิยมของนิกายลังกาวงศ์เก่า



          146
   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152   153