Page 151 -
P. 151
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
ลายสือไทยของพ่อขุนรามคำาแหง มีวรรณยุกต์เพียงสองรูป คือ ไม้เอกและไม้โท
(รูปกากบาท) แต่มาเปลี่ยนรูปเป็นไม้โทแบบปัจจุบัน ในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๒๗ - ๑๙๔๒
ส่วนไม้ตรีและไม้จัตวานั้นปรากฏในหนังสือจินดามณี ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
แต่น่าจะเป็นข้อความที่เติมเข้าไปในภายหลัง ผู้เขียนสันนิษฐานว่า ไม้ตรีไม้จัตวาเพิ่งจะมีขึ้น
ในสมัยกรุงธนบุรีหรือสมัยกรุงเทพฯ นี้เอง เมื่อประเทศไทยติดต่อกับประเทศจีน ประเทศลาว
และล้านนามากขึ้น จึงเกิดความจำาเป็นที่จะต้องเพิ่มรูปวรรณยุกต์ให้อักษรกลางออกเสียงเป็น
เสียงตรีและจัตวาได้ด้วย เช่นคำา เก๋ง และ เจ๊า เป็นต้น
อนึ่งอักษรสามหมู่ที่เรียกว่า อักษรสูง กลาง ตำ่า นั้นก็ตรงกับภาษาถิ่นนครศรีธรรมราช
คือ ออกเสียง ขา (อักษรสูง) สูงกว่า กา (อักษรกลาง) และ กา เสียงสูงกว่า คา (อักษรตำ่า)
ข่า-ก่า-ค่า และ ข้า-ก้า-ค้า ก็ออกเสียงสูงกลางตำ่าลดหลั่นลงไปตามลำาดับ ในขณะที่ภาษา
กรุงเทพออกเสียง ค้า (อักษรตำ่า) สูงกว่า ข้า (อักษรสูง) ไม่ตรงตามชื่อของอักษรสามหมู่
การกำาหนดสมัยจากศิลาจารึกภาษาไทย
เนื่องจากวิธีเขียนหนังสือไทยได้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงอาจกำาหนดสมัยของ
ศิลาจารึกภาษาไทย โดยอาศัยไม้หันอากาศและไม้โทได้ ดังนี้
๑. ไม้หันอากาศเริ่มปรากฏในจารึกประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๒ - ๑๙๐๔ เดิมไม้หันอากาศ
อยู่บนตัวสะกดและจะเคลื่อนมาอยู่ที่ท้ายพยัญชนะต้นระหว่าง พ.ศ. ๒๑๖๔ - ๒๒๒๓ แต่ใน
ภาคเหนือไม้หันอากาศเคลื่อนย้ายไปในระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๒ - ๒๐๓๖
๒. ในระหว่าง พ.ศ. ๑๙๒๗ - ๑๙๔๒ ไม้โทเปลี่ยนรูปจาก + (กากบาท) มาเป็นรูป
ปัจจุบัน แต่หางสั้นก่อนแล้วจึงยาวออกในภายหลัง
ถ้าหากจะกำาหนดให้ใกล้เคียงกว่านี้ จะต้องทำาตารางรูปอักษรทุกตัวเปรียบเทียบ
วิวัฒนาการของตัวอักษรดู
ผู้บุกเบิกการอ่านลายสือไทย
คนไทยคนแรกที่บุกเบิกอ่านศิลาจารึกไทย ได้แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมามีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในปัจจุบันมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
การศึกษาศิลาจารึกจึงยังเจริญก้าวหน้ามาได้ถึงปัจจุบันนี้
แท้จริงยังมีคนไทยอีกหลายคนที่สนใจศึกษาจารึกไทยนับแต่นายฉำ่า ทองคำาวรรณ
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ นายประสาน บุญประคอง นายเทิม มีเต็ม นายปรีดา ศรีชลาลัย
149