Page 156 -
P. 156
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จารึกชีวิต
ไม่ใช่ไท ส่วนคนไทเป็นเพียงชนกลุ่มน้อยในน่านเจ้า ข้อพิสูจน์นี้รู้สึกว่าจะไม่หนักแน่นพอ
เพราะระยะเวลาล่วงไปหลายร้อยปี ธรรมเนียมบางอย่างอาจเปลี่ยนแปรไป เช่น สมัยรัฐนิยม
กำาหนดว่า ชื่อชายควรเป็นชื่อพยางค์เดียว และชื่อหญิงควรยาวตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป
แต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ปรากฏตามกฎหมายตราสามดวง ว่า ผู้เป็นต้นเหตุให้ต้องชำาระกฎหมายกัน
คือ อำาแดงป้อม และนายบุญศรี ความนิยมตรงข้ามกับสมัยรัฐนิยม อนึ่ง ถ้าจะกล่าวอ้างว่า
คนไทยปัจจุบันไม่ใช้คำาอำาแดงนำาหน้าชื่อ จึงควรสรุปว่าอำาแดงป้อมไม่ใช่คนไทย ดังนี้ เห็นว่า
ฟังไม่ขึ้น และคนไทยในชนบทผู้ไม่คุ้นกับนามสกุล ซึ่งเป็นของเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๖ นี้เอง
อาจเรียกชื่อว่า นายถาลูกนายดี ชื่อพ่อจึงอาจมาปรากฏเป็นส่วนหนึ่งของชื่อลูกได้ฉะนี้
แต่ความเห็นว่า น่านเจ้าเป็นไทก็สรุปมาจากคำาในยุคนั้น ซึ่งมีปรากฏเหลือเป็นหลักฐาน
อยู่ประมาณ ๒๐ คำา เป็นคำาไท ๑๒ คำา คำาโลโล ๗ คำา แต่คำาที่ว่าเป็นคำาไทปัจจุบันก็เป็นคำา
ภาษาอื่นด้วย ฉะนั้น หลักที่ใช้สรุปว่า น่านเจ้าเป็นไท ก็ไม่มั่นคงเช่นกัน อย่างไรก็ดี ขอยำ้าว่า
นักประวัติศาสตร์ต่างประเทศมากหลายเห็นว่าน่านเจ้าไม่ใช่ไท และได้เขียนเอกสารไว้
หลายเรื่อง รวมทั้งนักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่นด้วย
อย่างไรก็ดี เรารู้กันดีว่า มีคนไทตกค้างอยู่บนเกาะไหหลำา มณฑลกวางสี ไกวเจา
ยูนนาน มากหลาย และภาษากวางตุ้ง ก็มีคำาพ้องกับคำาภาษาไทมากมาย ชาวเชียงรุ้ง
พูดภาษาไทและใช้อักษรพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนำาขึ้นไปครั้งพระเจ้าติโลกราชตีเชียงรุ้ง (สมัย
เดียวกับพระบรมไตรโลกนาถ) ไทใหญ่ในพม่า ไทอาหม ยังตกค้างอยู่ในแคว้นอัสสัม และ
เผ่าไทอีกมากหลายในแหลมอินโดจีน ซึ่งบางพวกก็ใช้หนังสือที่กลายไปจากลายสือไทยของ
พ่อขุนรามคำาแหง
ทางภาษาศาสตร์ เรารู้แล้วว่า ภาษาอินเดียกับภาษายุโรปแตกมาจากตระกูลภาษา
เดียวกันคือตระกูลอินเดีย-ยุโรป มอญ เขมร มาจากตระกูลมอญ-เขมร พม่ามาจากตระกูล
พม่า-ธิเบต ซึ่งเป็นสาขาของตระกูลจีน-ธิเบต อีกต่อหนึ่ง ส่วนไทยนั้นตำาราภาษาศาสตร์
จัดไว้ในตระกูลจีน-ธิเบต ผู้เขียนเคยถาม ดร.มาร์วิน บราวน์ ผู้ทำาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
เรื่อง จากภาษาไทยโบราณมาจนปัจจุบัน ว่า ภาษาไทยอยู่ในตระกูลจีน-ธิเบตแน่หรือ ได้รับ
คำาตอบว่า ไม่มีใครทราบ ที่จัดไว้ดังนั้น เพราะไม่รู้ว่าอยู่ในตระกูลไหนแน่ ก็ขอรวมกับจีนไว้
ชั่วคราว ในฐานะที่เป็นภาษามีเสียงวรรณยุกต์ และใช้คำาโดดพยางค์เดียวเหมือนกัน
วิธีที่จะสืบค้นว่า ภาษาไทยมาจากตระกูลภาษาใดนั้น ต้องอาศัยวิธีการทางสาขา
ภาษาศาสตร์เปรียบเทียบ สรุปโดยย่อคือ รวบรวมคำาในภาษาท้องถิ่นที่มาจากคำาไท
คำาเดียวกัน ซึ่งออกเสียงแปลกๆ กันไปตามถิ่นต่างๆ แล้วมาสานกลับย้อนหลังไปในอดีต
ว่าสมัยพ่อขุนรามคำาแหงควรออกเสียงคำานี้ว่าอย่างไร แล้วเทียบกับภาษาถิ่นในจีน พม่า
154