Page 159 -
P. 159

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี




                                       ภาษาถิ่นกับวรรณกรรมไทย*




                                                                 ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร**


                         เราควรจะภูมิใจที่คนไทยมีภาษา ตัวหนังสือและตัวเลขที่เป็นของคนไทยโดยเฉพาะ

                  ซึ่งมีน้อยชาติที่จะโชคดีเช่นเรานี้ ในสมัยโลกาภิวัตน์ เราอาจจะรับวัฒนธรรมของต่างชาติที่
                  เจริญทางเทคโนโลยีมากกว่าเรา แต่ภาษาเป็นวัฒนธรรมสุดท้ายที่แสดงถึงความเป็นไทย
                  เมื่อใดคนไทยเลิกพูดภาษาไทย เราก็คงไม่มีความเป็นไทยหลงเหลืออยู่อีก ไทอาหมซึ่งตั้ง

                  อาณาจักรไทขึ้นในอัสสัม อินเดีย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๗๒๒ แต่เลิกพูดภาษาไทไปสองสาม

                  ร้อยปีแล้ว ปัจจุบันไทอาหมพยายามฟื้นฟูภาษาไทยขึ้นใช้ใหม่ ประเทศไทยจะยอมให้
                  ภาษาไทยสูญหายไปจากประเทศไทยไม่ได้ เราจะต้องฟื้นฟูภาษาไทยทั้งภาษากลางและ
                  ภาษาถิ่นให้เจริญวัฒนาถาวรตลอดไป


                         ชาวอีสานคิดว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชเขียนด้วยภาษา
                  อีสาน ชาวล้านนาเห็นว่าจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชเขียนด้วยภาษาถิ่นล้านนา และ

                  ชาวปักษ์ใต้ก็ว่าจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชใช้ภาษาถิ่นใต้ มีแต่คนภาคกลางบอกว่า
                  อ่านจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชไม่ค่อยเข้าใจ

                         ชาวอีสานและชาวล้านนาพูดกับไทลื้อที่เชียงรุ่ง สิบสองปันนาได้เข้าใจเกือบร้อยละ

                  ๑๐๐ ไทมาวหรือไทเหนือที่มณฑลหยุนหนาน ประเทศจีน สื่อสารกับชาวอีสาน ชาว
                  ล้านนา ชาวใต้ได้สะดวก แต่พูดกับคนภาคกลางไม่ค่อยรู้เรื่อง เพื่อนไทมาวของผู้เขียน

                  บอกว่า อ่านจารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชเข้าใจได้ดี แต่อ่านหนังสือพิมพ์เมืองไทยไม่ค่อย
                  เข้าใจ ทั้งนี้เพราะภาษาภาคกลางมีคำายืมจากภาษาเขมรและบาลีสันสกฤตปนอยู่มาก


                         คนไทยที่เกิดในภูมิภาคต่างๆ จึงควรภูมิใจว่าสามารถพูดกับคนไทนอกประเทศได้
                  รู้เรื่อง อ่านวรรณกรรมโบราณของไทย และอ่านจารึกโบราณของไทยรู้เรื่องดีกว่าคนภาคกลาง

                         ภาษาไทยโบราณบางคำาในศิลาจารึกสุโขทัยยังใช้กันอยู่ในท้องถิ่นและนอกประเทศ

                  เช่น กว่า จารึกใช้ว่า ล้มตายหายกว่า ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อธิบายไว้ว่า ภาษาไทย
                  โบราณในเมืองจีนแปลว่า เสีย เช่น ตายกว่าแล้ว หลวงวิจิตรวาทการแปลว่า จาก เพราะ





                           * พิมพ์ครั้งแรกใน สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ. ๒๕๔๕. ทิศทางการสืบสานภาษา วรรณกรรม
                  และภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการปฏิรูปสังคมใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
                          ** ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๔๖. ภาษา - จารึก
                  ฉบับที่ ๘ ๘๔ ปี ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

                                                                                             157
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164