Page 162 -
P. 162

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




                สระหลัง อู โอ ออ มักจะใช้แทนกันได้ เช่น มุ่ง ม่ง สอง โสง แม่นำ้า ของ โขง
         อาจารย์เคยสอนว่าเป็นเรื่องแผลงสระ แต่ที่จริงไทยเผ่าต่างๆ ออกเสียงโดยเปิดปากไม่เท่ากัน

         เสียงสระจึงผิดกันไป เช่น ทุ่ง โต้ง  ตะวันโอก ตะวันออก

                สระ เอีย เป็นเสียงผสม อี + อา คือ เปิดปากแคบออกเสียง อี แล้วเปิดปากกว้าง
          ออกเสียง อา พวกไทใหญ่เปิดปากปานกลางออกเสียง เอ (โปรดดูแผนในหน้าที่ผ่านมา

          ประกอบ เช่น เมีย เป็น เม)

                สระ เอือ คือ อือ + อา ไทใหญ่เปิดปากปานกลางออกเสียง เออ เช่น เมือง เป็น เมิง


                สระ อัว คือ อู + อา ไทใหญ่ออกเสียงเป็น โอ (โปรดดูแผนประกอบ) เช่น ถั่ว เป็น โถ่
          พ่อขุนนำาถุม หรือ นำาถม ในจารึกหลักที่ ๒ จึงตรงกับ พ่อขุนนำ้าถ้วม (ท่วม) เพื่อน ไทอาหม
          ใช้ ปื้น แปลว่า มีเสน่ห์ แพง ไทอาหมใช้ ปิง แปลว่า น่ารัก แพง (ล้านนา) แปลว่า รัก

          เหมือนกัน พระเพื่อนพระแพง จึงแปลว่า พระผู้มีเสน่ห์และพระผู้น่ารัก นางรื่น นางโรย

          ไทใหญ่ออกเสียง รวย เป็น โรย คำาแปลนางรื่น นางโรย จึงตรงกันกับ ระรื่นระรวย นั่นเอง

                ในทางตรงกันข้าม ถ้าเปิดปากกว้างแล้วหุบปากให้แคบลง อา + อี เป็นสระไอ อา + อู
          เป็นสระอาว ส่วน อา + อือ เป็นสระไอไม้ม้วน ซึ่งปัจจุบันเราออกเสียงเป็นแบบเดียวกับ

          สระไอไม้มลายไปเสียแล้ว แต่จะสังเกตได้ว่าไทยบางถิ่นออกเสียงสระไอเป็นสระอือก็มี เช่น
          ให้ เป็น หื้อ บางถิ่นออกเสียงเป็นสระเออ ลากเสียงยาว เช่น ใจ เป็น เจ้อ (ไทใหญ่) และ

          ในโคลงประกาศแช่งนำ้า ผาเยอ เท่ากับ ผาใหญ่ ดังนี้เป็นต้น

          ๓. การกลายเสียงของวรรณยุกต์


                คำาที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรตำ่า รูปวรรณยุกต์โท เช่น ช้าง จะออกเสียงเป็น ซ่าง
          ในภาษาถิ่นอีสาน คำาเชื้อ ก็ย่อมออกเสียงเป็น เซื่อ ในภาษาถิ่นอีสานเช่นกัน


                การเทียบคำาจากภาษาถิ่นต่างๆ มาเป็นคำาไทยมาตรฐาน จะต้องเทียบเสียงวรรณยุกต์
          ให้ถูกต้องตามกลุ่มอักษรสูง กลาง ตำ่า และตามรูปวรรณยุกต์ด้วย เช่น ภาษาถิ่นล้านนา จ

          อาจจะตรงกับ  ช  ในภาคกลางก็ได้  ฉะนั้นจึงต้องฟังเสียงวรรณยุกต์ประกอบด้วย  ใจ๋
          (เสียงจัตวา) ตรงกับ  ใจ ภาคกลาง แต่ ไจ (เสียงสามัญ) ตรงกับ  ชัย ของภาคกลาง

          สถานี เด่นชัย เมืองแพร่ ควรเป็น เด่นใจ เพราะชาวบ้านเรียกว่า เด่นใจ๋ ส่วนเรื่องพระลอ
          ตามไก่ “ขันขานเสียงเอาใจ” น่าจะเป็นไก่ขันเอาชัยมากกว่า ยวนพ่าย บทที่ ๑๖๔

          “หัวเมืองแซ่ห่ม ห้าว แหนทวาร รอบแฮ” แซ่ห่ม ตรงกับ แช่ห่ม ออกเสียง ช เป็น ซ
          แบบอีสาน และตรงกับอำาเภอ แจ้ห่ม จังหวัดลำาปาง ตามเสียงของล้านนา ยวนพ่ายใช้

          กรุงลาว แทน กษัตริย์ลาว และ หัวเมืองแซ่ห่ม แทน เจ้าเมืองแจ้ห่ม


          160
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167