Page 164 -
P. 164
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จารึกชีวิต
เราก็จะอ่านผ่านไป ถ้าคำาแปลใดผิดแปลกจากที่เคยทราบ เราจะขีดเส้นใต้ไว้ เช่น คอน
(ไทขาว) เป็นคำากริยา แปลว่า จับคอน ซึ่งไม่ปรากฏในภาคกลาง หากเป็นคำาที่น่าสนใจ เช่น
ก้องข้าว แปลว่า ตำาข้าว ถ้าเช่นนั้นคำา ข้าวกล้อง จะแปลว่า ข้าวตำา หรือไม่ เราก็อาจเติม
ดอกจันไว้ดอกหนึ่ง ถ้าหากเป็นคำาที่เราเคยพบในวรรณคดีหรือจารึกที่ยังแปลไม่ออก หรือ
แปลออกแต่ยังหาหลักฐานไว้อ้างอิงยังไม่ได้ เราก็อาจเติมเครื่องหมายดอกจันไว้สองดอก
เช่น ก๊าน (ค้าน) แปลว่า พังลง โคลงนิราศหริภุญชัย บทที่ ๖๕ “สองตราบมัคคาพัง
ค่นค้าน” และมหาชาติคำาหลวง หน้า ๓๓๘ “คือจะค่นค้านไพรสะเทือน” โค่นค้าน จึงแปลว่า
พังทลาย เฟือด แปลว่า กระฉอก ล้นออก นิราศหริภุญชัยบทที่ ๒๔ “เหราเฟือดพัดฟอง
คือค่าย งามเอย” คือ แปลว่า คูเมือง อนึ่ง คำาที่ออกเสียง เอือ ของไทไย้ ตรงกับเสียง อา
ในไทยภาคกลาง และคำาที่ออกเสียง อา ของไทยไย้ ตรงกับเสียง เอือ ของภาคกลางหลายคำา
เฟือด จึงตรงกับ ฟาด ผู้เขียนพยายามหาคำาภาคกลางที่ตรงกับ เมือ ในล้านนา ซึ่งแปลว่า
ไปมา ไม่ได้ บัดนี้จึงทราบว่า เมือ คือ มา นั่นเอง และ เตื้อ (เทื่อ) ของล้านนา แปลว่า ครั้ง
ก็ตรงกับคำา ท่า ในกราบงามสามท่า คือสามครั้งนั่นเอง
การเทียบพยัญชนะที่แทนที่กันได้
ในตอนต้นได้กล่าวมาแล้วว่า ล ด น ใช้แทนกันได้ ยังมีพยัญชนะอื่นที่ใช้แทนกันได้
เช่น บ กับ ว บาก - หวาก บ่าย - อว่าย บำ๋า - หวำา บิ่น - วิ่น บุ๋ม - หวุม เบ้้อ - เว่อ
เบอะ - เหวอะ แบะ - แหวะ โบ๋ - โหว่ ฉะนั้น ในนิราศหริภุญชัย บทที่ ๒๖ “อก บ่า
บินแฮ” แปลว่า อกหว่า หรือ ว้าเหว่ แต่ไทขาวใช้ เมืองบ่า แปลว่า เสียเมือง อกบ่าจะ
เหมือนกับขวัญหายไปกระมัง หมาว้อ แปลว่า หมาบ้า คงจะตรงกับ หมาบอ นั่นเอง
ฟ กับ ล ในมังรายศาสตร์ กฎหมายของพระเจ้ามังราย (เม็งราย) มีคำา ฟีก แปลว่า
หลีก ทำาให้คิดได้ว่า เฟอะ เลอะ เฟือน เลือน เฟะ เละ ใช้แทนกันได้ โคลงทวาทศมาส
บทที่ ๖๓ “พระพรุณรายเรื่อยฟ้า เฟ็ดโพยม” เฟ็ดโพยม แปลว่า เล็ดจากฟ้า ทำาให้
นึกถึงพระเจ้าฟ้ารั่ว ยวนพ่ายบทที่ ๔๓ “ลวงแส้ง เฟดไฟ่ อ้อมเอาชัย เชี่ยวแฮ่” เชิงตั้งใจ
เล็ดลอดออกไปแล้วไล่ล้อมข้าศึก เฟดไฟ่ กับ เล็ดไล่ คำาว่า ลวง หมายถึง ทาง (ล้านนา)
หรือ เชิง บทที่ ๔๐ ใช้ กล บทที่ ๔๑ ใช้ เชิง บทที่ ๔๒ - ๔๔ ใช้ ลวง ในความหมาย
เดียวกันว่า ในทาง ในมหาชาติคำาหลวงมี “เจ้าฟ้าฟอกไพชยนต์” เปรียบเทียบพระพุทธเจ้า
เหมือนพระอินทร์ ฟอก ตรงกับ ลอก ภาษาไทอาหมแปลว่า เนรมิต เจ้าฟ้าฟอกไพชยนต์
คือ พระผู้เนรมิตไพชยนต์ขึ้นมา
162