Page 165 -
P. 165
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร
สมัยโบราณมีคำาควบกลำ้ามากกว่าในปัจจุบัน เช่น ม กับ ล จารึกหลัก ๒ ใช้
ฟ้า แมลบ ปัจจุบันภาคกลางใช้ แลบ ล้านนาใช้ แมบ ในทำานองเดียวกันนี้ มีคำา มลื่น - ลื่น - มื่น
มล้าง - ล้าง - ม้าง เราอาจจะแปล ไม้มลาย ไม่ออกแล้ว แต่ไทยล้านนาใช้ มาย แปลว่า
คลายออก ฉะนั้น ไม้ม้วนเขียนปลายม้วนเข้า ไม้มลายเขียนปลายคลายออกไป คำาว่า
มลาก แปลว่า ดี เช่น ยินมลาก ฉะนั้น ผู้ลากมากดี ก็แปลว่า ผู้ดีดีดี นั่นเอง
ล กับ ว เช่น จารึกหลักที่ ๑ หลวัก ปัจจุบันภาคกลางใช้ หลักแหลม อีสานและ
ล้านนาใช้ หลวก แปลว่า ฉลาด ปักษ์ใต้ไม่ใช้คำานี้ แต่ไทยในกลันตันใช้ หลวก เหมือนกัน
ในกลันตันยังใช้คำา ผ้าผึ้ง แปลว่า ผ้าเช็ดหน้า ยืนยันคำาในไตรภูมิพระร่วง หน้า ๑๒๔
“นางอสันธิมิตตา” ได้ให้ทานผ้าผึ้งแก่พระปัจเจกโพธิเจ้า ฉบับแก้ไขใหม่ได้แก้ ผ้าผึ้ง เป็น
นำ้าผึ้ง ไปเสีย แต่ในหน้า ๑๐๑ ยังมีข้อความยืนยันว่า “ได้ถวายผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่ง” (ได้มา
จากนายฉันทัส ทองช่วย วิทยานิพนธ์เรื่อง “ภาษาไทยในกลันตัน” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
อักษรควบ ง กับ ว เช่น งว้าย (ล้านนา) แปลว่า วกกลับ งัว และ วัว น่าจะมาจาก
งวัว ทางล้านนาเรียก แมงวัน ว่า แมงงูน วันวาน ว่า วันงวา โคลงโบราณมีคำา ไหงว้
และ ไหงว เช่น ยวนพ่าย บทที่ ๒๖๘ “หาญเราต่อเต่งง้วง ไหงวฤา” แปลว่า ทวยหาญ
ของเราจะสู้กับช้างไหวหรือ
ศัพท์จากภาษาถิ่นไทใต้คงต่อไปนี้ได้มาจาก A Dictionary of Dehong ของ
Luo Yongxian มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย จึงขอขอบคุณเป็นอย่างสูง
ศัพท์ที่น่าสนใจจากไทใต้คง
กราย ผ่าน
กริ่ง เกรงใจ
กล้อง ปืน
กลาย เปลี่ยน
กล่าว กล่าวหา จารึกหลักที่ ๑ “มันจักกล่าวถึงขุนบ่ไร้”
กว่า ไป
ก้อย เล็ก เช่น นิ้วก้อย
ก่าย สร้าง เช่น ก่ายขัว = สร้างสะพาน
กำ่า แดงเข้ม ม่วง
กีบมือ เล็บมือ
เกา กู ฟิลิปปินส์ใช้ อากู
163