Page 160 -
P. 160

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




          สมัยนี้ใช้ว่า ล้มหายตายจาก ผู้เขียนเคยเรียนเสนอพระยาอนุมานราชธนว่า น่าจะแปล
          อย่างไทใหญ่ว่า ไป ซึ่งท่านก็เห็นพ้องด้วย  ต่อมาได้อ่านคำาแปลที่อาจารย์ใหญ่ภาษาไทย

          ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า ไป และมาจากคำาเดียวกับ คลา ผู้เขียนเห็นว่า กว่า แปลว่า
          ไป แน่นอน ดังปรากฏในโคลงนิราศนรินทร์ว่า “จรรโลงโลก กว่า กว้าง”

                จารึกพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชว่า “ด้วยรู้ด้วยหลวัก” คำาว่า หลวัก นี้ ออกเสียง

          ห ล ว ควบกัน ออกเสียงยาก ภาคกลางจึงตัดลงเหลือหลัก แปลว่า หลักแหลม แต่

          ภาษาถิ่นล้านนาใช้ หลวก แปลว่า ฉลาด

                โคลงนิราศหริภุญชัยว่า “จากเจียนฉ้อฟ้าโลก ลงดิน” อาจารย์ภาษาไทยมักจะ
          อธิบายว่า เจียน มาจาก เจียร แปลว่า นาน ความจริง เจียน น่าจะเป็นคำาคู่กับ จาก

          (เหมือนอย่างข้าศึกคู่กับข้าเสือ) เพราะทวาทศมาสใช้ว่า “วัน เจียน สุดาภินท์”

                ถ้าจะนำาศัพท์แต่ละคำามาศึกษาก็จะมีมากมายเกินไป จะขอกล่าวถึงหลักใหญ่ของ

          การกลายเสียงของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ที่จะช่วยตีความหมายของศัพท์ในศิลาจารึก
          และวรรณกรรมโบราณของไทยได้อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผล ดังนี้


          ๑. การกลายเสียงของพยัญชนะ

                หลักที่              ๑     ๒    ๓     ๔  ๕

                วรรค  กะ             ก     ข    ค     ฆ     ง
                วรรค  จะ             จ     ฉ    ช     ฌ  ญ

                วรรค  ตะ             ต     ถ    ท     ธ     น

                วรรค  ปะ             ป     ผ    พ     ภ     ม

                กฎข้อที่ ๑  ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียงพยัญชนะหลักที่ ๓ (อักษรตำ่า) ไม่ได้ ใช้เสียง

          พยัญชนะหลักที่ ๑ (อักษรกลาง) ในวรรคเดียวกันแทน เช่น เค้า เป็น เก๊า  ช้าง เป็น จ๊าง
          ทุ่ง เป็น ต้ง  พ่อ เป็น ป้อ

                กฎข้อที่ ๒  ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ร เป็น ฮ เช่น รัก เป็น ฮัก

                กฎข้อที่ ๓  ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ฉ เป็น ส เช่น แม่ (นำ้า) ฉอด เป็น แม่สอด

                กฎข้อที่ ๔  พยัญชนะหลักที่ ๑ ควบกับ ร กลายเป็นพยัญชนะหลักที่ ๒ ในวรรค
          เดียวกัน เช่น กราบ เป็น ขาบ  ตราบ เป็น ถาบ  ปราบ เป็น ผาบ เราอาจอธิบายได้

          ดังต่อไปนี้ เวลาเขียนอักษรโรมัน ก - k  ข - kh คือ ก + ฮ นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อล้านนาออกเสียง
          ก + ร เป็น ก + ฮ หรือ kh จึงเป็น ข ไปนั่นเอง




          158
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165