Page 157 -
P. 157

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                  อัสสัม และอินโดจีน สานย้อนหลังขึ้นไปถึงสมัยที่ไทสาขาต่างๆ เหล่านี้ยังไม่ได้แตกแยกกันไป
                  ยกตัวอย่างเช่น คำาที่ใช้ไม้ม้วน แต่เดิมมาคงเป็นสระผสม อา-อือ “ให้” ออกเสียงเป็น “ห้า-อื้อ”

                  ดังปรากฏว่าภาษาถิ่นใช้ หื้อ แทน ให้ บางท่านอาจจะสานกลับเป็น อา-เออ โดยอาศัย
                  เสียงจากภาษาถิ่นไทใกล้ๆ กับไทอาหม แต่ผู้เขียนนิยมแบบแรกมากกว่า โดยเทียบตำาแหน่ง

                  ของลิ้นจาก อา-อี เป็น ไอ อา-อู เป็น เอา แต่ อา-อือ ในภาษาไทยปัจจุบันขาดหายไป
                  กลายเป็น ไอ ในปัจจุบัน


                         บางท่านเสนอว่า เดือน แต่เดิมคงออกเสียงเป็น เบลือน ดังที่หลงเหลืออยู่ในภาษา
                  ไทอาหมและตรงกับบุหลัน ในภาษาทางแหลมมลายู ตัวอย่างที่ยกมาเพียงเพื่อให้เห็น
                  แนวทางว่า นักภาษาศาสตร์เขามีทางสานคำากลับขึ้นไปอย่างไร  เมื่อต่างชาติต่างสานขึ้นไปแล้ว

                  ก็จะเห็นได้ว่า ภาษาใดมาจากตระกูลเดียวกัน เช่น เพ็นตากอน กับปัญจโกณ มาจากคำาเดียวกัน

                  แปลว่า ห้ามุม ด้วยวิธีนี้จึงสรุปได้ว่าอินเดียและยุโรป อยู่ในตระกูลภาษาเดียวกัน ปัจจุบัน
                  ภาษาจีน ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาฟิลิปปินส์ มีนักภาษาศาสตร์สานคำาย้อนหลังไปบางชาติถึง
                  พ.ศ. ๑๒๐๐ ก็มี แต่ภาษาไทยยังไม่มีผู้ใดจัดทำา เพราะนักภาษาศาสตร์ไทยของเราก็มักไป

                  นิยมค้นคว้าภาษาอินเดีย ยุโรปเสีย ดร.บราวน์เคยปรารภกับผู้เขียนเมื่อหลายปีมาแล้วว่า

                  วิทยานิพนธ์ของท่านไม่มีคนไทยคนไหนอ่านแล้วเข้าใจแจ่มแจ้งเลย มีความหวังอยู่ที่ผู้เขียน
                  นี่แหละคงจะอ่านเข้าใจได้คนเดียว น่ากลัวว่าท่านจะหลอกให้ผู้เขียนอ่านวิทยานิพนธ์ของท่าน
                  มากกว่า


                         เมื่อไม่มีผู้ใดสานภาษาไทยกลับไปดังนี้ เราก็เลยหลงเหลืออยู่ข้างหลังแต่ผู้เดียว ไม่รู้ว่า
                  อยู่ในตระกูลภาษาใดแน่ จุดอ่อนของทฤษฎี ดร.เบนเนดิคต์ อยู่ที่ท่านนำาภาษาปัจจุบันมา

                  เทียบกันไม่สานย้อนหลังไปตามหลักวิชาเสียก่อน คำาที่คล้ายกันในปัจจุบันอาจผิดกันแต่
                  ดั้งเดิมมาก็ได้ ผู้เขียนซึ่งเป็นฝ่ายวิทยาศาสตร์ ได้ท้าทายท่านผู้อ่านที่เป็นนักศิลปศาสตร์หรือ

                  นักอักษรศาสตร์มาเช่นนี้แล้ว จะไม่มีผู้ใดรับสืบค้นต้นตระกูลไทยบ้างเชียวหรือ

                         นอกจากนี้ เจีย แยนจอง ยังได้ศึกษาวัฒนธรรมของจีนและไทย ว่ามีวัฒนธรรมร่วมกัน

                  มาแต่ดึกดำาบรรพ์ เช่น (๑) เสื้อเมือง หรือเทวดาประจำาเมือง คำาว่า เสื้อ ปรากฏในศิลาจารึก
                  สุโขทัย ค.ศ. ๑๒๙๒ และในพจนานุกรมจีน ค.ศ. ๑๒๑ (๒) แม่โพสพ หรือเทพเจ้าของช้าว
                  จีนเองก็เซ่นสรวงเทพเจ้าของข้าวมาตั้งแต่โบราณ (๓) การนับปีแบบรอบหกสิบปี และนับวัน

                  แบบรอบหกสิบวันในสุโขทัย ล้านนา ไทใหญ่ ฯลฯ เรียกแม่มื้อ รอบละ ๑๐ วัน และลูกมื้อ

                  รอบละ ๑๒ วัน เหมือนกับจีน ซึ่งเรียกชื่อวันเป็นแม่และลูก เมื่อสมัยประมาณสองพันปีมานี้
                  ต่อมาเปลี่ยนจาก “แม่และลูก” เป็น “กิ่งและก้าน” (๔) การใช้ “เชียง” เป็นชื่อเมืองเช่นเดียว
                  กับจีน (๕) การแบ่งส่วนการปกครองเป็น “แคว้น” แบบเดียวกับที่จีนแบ่งส่วนการปกครอง

                  ในอดีต (๖) ระบบ “พ่อล่าม” เช่น พ่อล่ามเมือง ผู้ทำาหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้า

                                                                                             155
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162