Page 144 -
P. 144
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
จารึกชีวิต
ประเทศเขมรและประเทศลาว การพิมพ์หนังสือของประเทศเหล่านั้นเป็นการยาก ไม่สู้จำาเริญ
แลยังไม่มีผู้ใดในชาตินั้นๆ ได้คิดจะออกแบบพิมพ์ดีดสำาหรับตัวอักษรของตนเลย (พ.ศ. ๒๔๖๘)
๕. ตัวอักษรทุกตัวสูงเท่ากัน หางของ ศ ส ก็ขีดออกไปข้างๆ แทนที่จะสูงขึ้นไปกว่า
อักษรตัวอื่นๆ หางของ ป และ ฝ สูงกว่าอักษรตัวอื่นๆ เพียงนิดเดียว สระทุกตัวสูงเท่ากับ
พยัญชนะ รวมทั้งสระ โอ ใอ และ ไอ ตัวอักษรแบบนี้เมื่อตีพิมพ์ หางตัว ป และสระข้างล่าง
ข้างบน จะไม่หักหายไปอย่างในปัจจุบัน ไม่ต้องคอยตรวจซ่อมกันอยู่ตลอดเวลา
๖. พ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยให้เขียนได้ง่ายและ
รวดเร็ว พยัญชนะแต่ละตัวต่อเป็นเส้นเดียวตลอด ในขณะที่ตัวหนังสือขอมต้องเขียนสองหรือ
สามเส้นต่อพยัญชนะตัวหนึ่ง
๗. ประการสุดท้าย พ่อขุนรามคำาแหงมหาราชทรงประดิษฐ์รูปวรรณยุกต์ขึ้น ทำาให้
สามารถอ่านความหมายของคำาได้ถูกต้องโดยไม่ต้องดูข้อความประกอบทั้งประโยค สมมติว่า
เราเข้าใจภาษาไทใหญ่เป็นอย่างดี แต่ถ้าจะอ่านภาษาไทใหญ่ เขาเขียน ปีน คำาเดียวอาจจะ
อ่านเป็น ปีน ปี่น ปี้น ปี๊น ปี๋น เปน เป่น เป้น เป๊น เป๋น แปน แป่น แป้น แป๊น และแป๋น
รวมเป็น ๑๕ คำา ถ้าไม่อ่านข้อความประกอบจะไม่ทราบว่าคำาที่ถูกต้องเป็นคำาใดกันแน่
แต่ตัวหนังสือของพ่อขุนรามคำาแหงมหาราชอ่านได้เป็น ปีน แต่อย่างเดียว
ปัจจุบันนี้ คนไทยได้เลิกใช้อักขรวิธีของพ่อขุนรามฯ ไปบางส่วน ทำาให้มีข้อความที่เขียน
กำากวมขึ้น กล่าวคือข้อความว่า ตากลม อาจอ่านว่า ตา-กลม หรือ ตาก-ลม ก็ได้ แต่อักขรวิธี
แบบใหม่ก็ให้ประโยชน์ด้านประหยัดและด้านความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพิ่มขึ้น ส่วนการที่
นำาเอาสระขึ้นไปไว้ข้างบนและข้างล่างของพยัญชนะตามความเคยชินนั้น ทำาให้เสียเวลาและ
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว ดังกล่าวมาแล้วในข้อที่ ๓ โดยมิได้ประโยชน์อื่นตอบแทนเลย
จึงน่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง
อักขรวิธีลายสือไทย
๑. พยัญชนะต้นและสระเขียนเชื่อมติดกัน เช่น กา
๒. ตัวสะกดเขียนแยกออกไป เช่น การ เขียนเป็น กา ร
๓. อักษรควบเขียนเชื่อมติดกัน เช่น กราน เขียนเป็น กรา น
๔. อักษรนำาเขียนเชื่อมกับอักษรตาม เช่น แหนง เขียนเป็น แหน ง
๕. ไม้หันอากาศยังไม่มีใช้ กำาหนดให้ใช้พยัญชนะตัวเดียวกัน หรือพยัญชนะวรรค
เดียวกัน เขียนเชื่อมกันสองตัวแทน เช่น อัน เขียนเป็น อ นน และ อัง เขียนเป็น อ งง
๖. สระ ออ และ สระ อือ ไม่ต้องมี อ เคียง เช่น เขียน พ่ชื่ แทน พ่อชื่อ
๗. สระ อิ อี อือ อุ อู นำามาเขียนข้างหน้าติดกับพยัญชนะต้น เช่น ป น แทน ปีน
ี
142