Page 145 -
P. 145

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                           ๘. สระเอือ ประกอบด้วยสระอือ สระเอ พยัญชนะต้น ตัว อ เรียงกันไป โดยตัว
                  อักษรแต่ละตัวเชื่อมกับตัวที่อยู่ถัดไปข้างหลังตามลำาดับ เช่น เมือง เขียนเป็น  เมอ ง และ
                                                                                       ื
                  เมือ เขียนเป็น   เมอ อ มี อ มาเคียงแทนตัว ง สะกด
                                ื
                           ๙. นฤคหิต ใช้แทนตัว ม สะกด เช่น ชำ แทน ชม แต่รูปเป็นครึ่งวงกลมควำ่าลง

                  แทนที่จะเป็นวงกลมทั้งวง
                          ๑๐. สระเอีย ประกอบด้วย สระอี พยัญชนะต้นตัว ย เรียงกันไป โดยแต่ละตัวเชื่อม

                  กับตัวที่อยู่ถัดไปข้างหลังตามลำาดับ และมีตัว ย เคียงอีกตัวหนึ่ง แต่วางไว้ห่างออกไป เช่น เมีย
                  เขียนเป็น    มย ย
                            ี
                         เมื่อมีตัวสะกด เช่น เวียง เขียนเป็น วย ง โดยตัดสระอี และเอาตัวสะกดไปแทนตัว ย
                  เคียง ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะออกเสียงวะยงเร็วๆ ก็ฟังคล้ายเวียงอยู่แล้ว

                          ๑๑. สระลอยมีเพียงตัวเดียว คือ สระอี แต่ในศิลาจารึกหลักที่ ๓ พ.ศ. ๑๙๐๐
                  มีสระลอยสองตัวคือสระอีและสระอือ

                         ตัวพยัญชนะไทยซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ๔๔ ตัว นั้นปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๑ เพียง

                  ๓๙ ตัว ขาด ฌ ฑ ฒ ฬ และ ฮ แต่เชื่อได้ว่า ๔ ตัวแรกคงจะมีใช้อยู่แล้ว เพราะ ฌ ปรากฏ

                  อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ ๒ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๒ - ๑๙๑๒ ส่วน ฑ ฒ และ ฬ
                  ปรากฏในยุคอยุธยา แต่ ฮ ไม่ปรากฏในจารึกสมัยสุโขทัยและอยุธยาเลย แม้ตัวหนังสือที่
                  ลาลูแบร์รวบรวมไว้สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ไม่มีตัว ฮ  ฉะนั้น ฮ จึงน่าจะเกิดขึ้นใหม่

                  ในยุคปลายอยุธยา ยุคธนบุรีหรือยุครัตนโกสินทร์นี่เอง นายฉำ่า ทองคำาวรรณ เคยรายงานไว้ว่า

                  มีตัว ฮ ในจารึกลานทองสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๑๙ ข้อความว่า เหนือฮั่น แต่ผู้เขียนพยายาม
                  สอบหาจารึกอยู่สิบกว่าปีเพื่อสอบดูใหม่ เพราะจารึกสุโขทัยหลักอื่นใช้ หั้น หลายแห่ง แต่
                  ไม่เคยใช้ ฮั่น เลย ข้อความน่าจะเป็น เหนือหั้น มากกว่า ในที่สุดเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้

                  ช่วยกันสอบทานแล้ว ที่ถูกเป็น เหนือหั้น

                         ฮ ปรากฏครั้งแรกในนันโทปนันทสูตรคำาหลวง พระนิพนธ์ในเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

                  พ.ศ. ๒๒๗๙ (พระฮาม)

                  อักษรสมัยพระเจ้าลิไทย


                         รูปของอักษรสมัยพระเจ้าลิไทยเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยพ่อขุนรามคำาแหงบ้างเล็กน้อย
                  แต่อักขรวิธีเปลี่ยนไปมาก


                         เนื่องจากชาวสุโขทัยเคยอ่านและเขียนหนังสือขอมมาก่อนลายสือไทย และเคยชินกับ
                  อักขรวิธีแบบวางรูปสระบางตัวไว้ข้างบนและบางตัวไว้ข้างล่างพยัญชนะ เมื่อมาถึงรัชกาล

                  พระเจ้าลิไทย ชาวสุโขทัยจึงกลับไปใช้วิธีเดิมตามความเคยชิน  ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๓

                                                                                             143
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150