Page 126 -
P. 126
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การตีความคำาศัพท์ในจารึกและเอกสารโบราณ*
ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร
สวัสดีครับท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย เขาขอให้ผมมาพูดเรื่องเกี่ยวกับการตีความจาก
เอกสารโบราณ บังเอิญตอนนี้ผมทำางานล้าหลังไปสัก ๒ เดือนได้ อะไรต่ออะไรทั้งหลายจึง
ไม่ทันตามกำาหนด จึงไม่ได้เตรียมที่จะมาพูดอะไร คงจะว่าไปตามที่เคยพูดมาแล้ว
ผมสนใจเกี่ยวกับภาษาศาสตร์และศิลาจารึก มีคนมาถามว่าศัพท์คำาว่า เรียน ใน
ภาษาไทยใหญ่มีไหม ผมบอกว่าผมไม่รู้หรอกภาษาไทยใหญ่ แล้วเขาล่ะรู้ไหม เขาบอกว่า
เขาไม่รู้หรอกว่าคำาว่า เรียน นี้มีหรือไม่ แต่ถ้ามีจะออกเสียงว่า เฮ้น ผมถามว่า อ้าวแล้ว
รู้หรือเปล่าว่ามีหรือไม่มี เขาบอกเขาไม่รู้ แต่ถ้ามี คำาว่า เรียน ก็ต้องออกเสียงว่า เฮ้น ผม
ก็งง ทำาไมมันเป็นอย่างนั้น เขาก็อธิบายให้ผมฟังว่า ตัว ร ไทยใหญ่ออกเสียงเป็น ฮ ทุกคำา
รักโรงเรียน เป็น ฮักโฮ้งเฮ้น เพราะฉะนั้น ร ก็เป็น ฮ สระเอีย ก็จะเป็น สระเอ อย่างเมีย
ก็เป็น เม้ แล้วแม่กนก็ยังคงเป็นแม่กนอยู่ ส่วนอักษรตำ่าที่ไม่มีวรรณยุกต์ในภาคกลางนี้ก็จะ
ไปออกเสียงเป็นเสียงตรีในภาษาไทยใหญ่ เพราะฉะนั้นถ้ามีคำาว่า เรียน ในไทยใหญ่ ก็ต้อง
ออกเสียงว่า เฮ้น ผมประหลาดใจมากว่าทำาไมภาษาศาสตร์ถึงเก่งขนาดนี้นะ คือไม่รู้ว่ามี
แต่ถ้ามีก็จะต้องออกเสียงว่าอย่างนี้
ที่ผมเรียน ผมเรียนเป็นคำาๆ ไป อย่างคำาว่า ช้าง ก็ออกว่า จ๊าง ทำางานไม่เป็น
ก็เยียะบ่จ้าง คือ จ้าง ตรงกับคำาว่า ช่าง ในภาคกลาง เยียะบ่จ้าง ก็คือ ทำาไม่เป็น เรียนเป็น
คำาๆ ไป แต่ไม่รู้ว่า ช ทุกตัวนี่ ชาวล้านนาจะออกเสียงเป็น จ ทุกคำาไป พอมาเรียนจึงมารู้ว่า
ภาษาศาสตร์จะบอกรายละเอียดของคำาศัพท์เดิมว่าจะเปลี่ยนเช่น ร เป็น ฮ สระเอีย เป็น
สระเอ ผมก็เลยมาศึกษาด้วยตนเองว่าภาษาถิ่นเหนือนั้น ร ต้องออกเสียงเป็น ฮ นี่คือ
ประการที่หนึ่ง และประการที่สอง อักษรที่เป็นอักษรตำ่า ถ้าเขาออกเสียงไม่ได้ก็ออกเสียงเป็น
อักษรกลางในวรรคเดียวกัน เช่น ค เป็น ก
ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
*จากภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๕๒. ภาษา - จารึก
ฉบับที่ ๑๑ นนทบุรี : เชน ปริ้นติ้ง.
124