Page 128 -
P. 128

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
          จารึกชีวิต




          เพราะฉะนั้น เรือนอินถา คือ เรือนพระอินทร์ และ เถือก นั้น คือ เป็นแนวต่อๆ กันไป เราก็
          อาจจะเอาความรู้เหล่านี้ไปช่วยในการตีความได้


                แล้วที่ผมมาค้นพบเองก็มีพยัญชนะ ฟ กับ ล ว่าเดิมจะมีอักษรควบเป็น ฟล ดูคำาว่า
          เฝือ - เหลือ  เฟะ - เละ  เฟือน - เลือน คือคำาพวกนี้แหละครับที่แสดงให้เห็นว่า ฟล ใช้คู่
          กันได้ เพราะฉะนั้นในไตรภูมิพระร่วงบอกว่าวัวอุศุภราชวิ่งไป พอไปเจอต้นไม้ก็กระโดด

          ออกไปข้างๆ เลยบอกว่า ฟีกออกไป คือกระโดดหลีกไปข้างๆ ๒ กิโลเมตร แสดงว่า ฟล

          แต่เดิมมีอักษรควบกัน เช่น ฟลีก ต่อมาบางคนใช้ ฟีก บางคนใช้ หลีก ในยวนพ่ายบทหนึ่ง
          ว่า ลวงแสร้งเฟ็ดไฟ่อ้อม เจาชัย ลวง แปลว่า ทาง หรือ เชิง เช่น ลวงกว้าง ลวงยาว
          แสร้ง แปลว่า ตั้งใจ เช่น จารึกหลักที่ ๑ ว่า งามดังแสร้งแกล้ง และสารประเสริฐฤาช้า

          กลั่นแกล้งเกลากลอน ตั้งใจเปลี่ยนแก้กลอนให้เพราะขึ้น เฟ็ดไฟ่ เราก็แปลไม่ได้ ที่ถูกแปลว่า

          เล็ดไล่ เล็ดไล่อ้อม คือ เล็ดลอดไปไล่อ้อม ไปตีขนาบข้างหลัง พิรุณพิโยคฟ้า เฟ็ดโพยม
          ฝนเล็ดฟ้าลงมา เหมือนที่ใช้ว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว

                ทีนี้ยังมีเรื่องอื่นที่ผมค้นได้มาคือ เอือ เป็นเสียงสระ อือ ตามด้วยสระ อา อือ + อา

          เป็น เอือ ทีนี้ไทยบางถิ่นตัดออกไปก็เหลือแต่สระ อา อย่างนี้คำาว่า เหราเฟือดฟัดฟอง
          คือค่ายงามเอย เราไม่ทราบว่า เฟือด แปลว่าอะไร เฟือด ในภาษาอีสานแปลว่า กระฉอก

          นำ้าเต็มเปี่ยม ก็กระฉอกออกไป คือ เฟือด ออกไป แต่ต่อมาผมได้ทราบว่าคำาของพวกจ้วงที่
          ออกเสียง เอือ ตรงกับคำาสระ อา ในภาคกลาง แล้วก็สระ เอือ ในภาคกลางไปเป็นสระ อา

          ของพวกจ้วง แสดงว่า เอือ นี่เป็น อือ + อา เมื่อเราตัดสระ อือ ออกก็เหลือแต่สระ อา  เฟือด
          ก็คือ ฟาด เหรา ซึ่งในที่นี้ หมายถึง จะเข้ ในสระในคู ซึ่งทางเหนือเรียกว่า คือ เขาจะเอา

          จะเข้เลี้ยงไว้ในคูรอบเมือง เพราะข้าศึกจะว่ายนำ้าไปปีนขึ้นกำาแพงเมืองก็ไปไม่ได้ เพราะ
          กลัวจะเข้ในคู จะเข้เฟือดฟัดฟอง ฟอง นี่แปลว่า คลื่น เช่น ทะเลตีฟอง มหาสมุทรตีฟอง

          เหรา ก็ฟาดหางเกิดเป็นคลื่น อย่างนี้เป็นต้นนะครับ สระอือบวกกับอา นี่คือ เอือ ทำาให้รู้ว่า
          คำาว่า เมือ ทางเหนือ ตรงกับ มา ทางภาคกลาง เมือบ้าน แปลว่า มาบ้าน นั่นเอง


                มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมคิดมาตั้ง ๖๐ ปีแล้ว คือคำาว่า ม่วน แปลว่า สนุก แต่ไม่ทราบว่า
          ตรงกับคำาไหนในภาคกลาง แต่พอมาฟังสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
          พระองค์รับสั่งว่าประเทศลาว ใช้คำาว่า ม่วนซื่น ผมจึงนึกได้ว่า อ๋อ ม่วน ก็คือ มื่น และ

          ม่วนซื่น ของประเทศลาวก็ตรงกับชื่นมื่นของมหาเวสสันดร ที่บอกว่าเจ้าจงแลดูบิดาเสีย

          ให้ชื่นมื่น กว่าจะรู้ว่าม่วน คือ มื่น ก็ใช้เวลากว่า ๖๐ ปีทีเดียว

                วันนี้เราคงมีเวลาไม่มาก ผมจะยกตัวอย่างคำาบางคำาที่อยู่ในกฎหมายตราสามดวง
          มา ว่าจะตีความศัพท์ไปได้อย่างไรบ้าง อย่างคำาว่า กลาการ กับ ตุลาการ คือ ก กับ ต



          126
   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133