Page 127 -
P. 127

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
                                                                ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร




                         เพราะฉะนั้น ค ก็ออกเสียงเป็น ก ในวรรคเดียวกัน แล้ว ช ก็จะออกเสียงเป็น จ
                  วรรค จ ฉ ช ฌ ญ ตัว ชะ นี่ก็จะออกเสียงเป็น จ๊ะ ส่วนวรรค ต ถ ท ธ น จะออกเสียง ท

                  เป็น ต เช่น เทียว ซึ่งเป็นภาษาจีน เทียวไล้เทียวขื่อ ก็จะเป็น เตียว คือ ท เป็น ต

                         ในวรรค ป ผ พ ภ ม  พ จะกลายเสียงเป็น ป เช่น พี่ กลายเป็น อี่ปี้ พ่อ เป็น อี่ป้อ
                  ข้อต่อไปเขาออกเสียง ร และ ล ควบไม่ได้ ภาคเหนือเขาออก ร เป็น ฮ ([r] เป็น [h])

                  เพราะฉะนั้น เขาจะออกเสียง กร ควบจาก [kr] ก็เป็น [kh] ซึ่ง [kh] นี่คือเสียง ข หรือ ค

                  เพราะฉะนั้น กราบ ก็กลายเป็น ขาบ กรุณา ก็เป็น ขูณา อย่างนี้ครับ

                         แต่ทีนี้ จร นี่ ฉ ทางเหนือไม่มี ฉ แต่จะออกเสียงเป็น ส อย่าง เฉกฉัน ก็เป็น
                  เสกสัน ต่อไป [tr] ก็เป็น [th] กลายเป็น ถ อย่างคำาว่า ตรา ก็เป็น ถา เพราะฉะนั้นคำาเรียก

                  พระอินทร์ภาษาถิ่นทางภาคเหนือมี ๒ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งเอามาจากภาษาบาลี คือ อินทา ทา
                  ก็ออกเป็น ต อย่างที่บอกแล้ว ก็เป็น อินตา แล้วก็ออกเสียงอักษรกลางเป็นอักษรสูง

                  เพราะฉะนั้น อินทา เป็น อินต๋า

                         แต่ถ้าเรียก อินทรา ตามภาษาสันสกฤต ตัว ท ก็ออกเป็น ต ไป ส่วน ร ออกเสียงเป็น
                  [h] เพราะฉะนั้น อินทรา ก็กลายเป็น อินตรา ไป [?intra:] กลายเป็น [?intha:] หรือ อินถา


                         อนึ่ง พยัญชนะควบในสมัยโบราณนั้นมีมากกว่าปัจจุบัน เช่น มล ควบ แมลง
                  กลุ่มไทยนี่ออกเสียงเน้นตัวหน้าก็ออกเสียงเป็น แมง อีกกลุ่มหนึ่งเน้นข้างหลังก็เลยออก

                  เสียงเป็น แลง ดังเช่น แมงเม่า และ แลงกินฟัน

                         คำาว่า มลื่น ทางภาคกลางเน้นข้างหลังก็เป็น ลื่น แต่ทางเหนือเน้นพยัญชนะตัวหน้า
                  จะกลายเป็น มื่น เช่น มื่นหกล้ม พวก ล ควบ ฟ้าแมลบ ทางเหนือก็เป็น ฟ้าแมบ ภาคกลาง

                  ก็เป็น ฟ้าแลบ แต่ว่าทางปักษ์ใต้ออกเสียงเป็น ฟ้าแมลบ ออกเสียง ม และ ล คู่กันเลย

                         ทีนี้ยังมีคำาอื่นอีก ยกตัวอย่างเช่น ไม้มลาย เราก็คงไม่เข้าใจว่า ไม้มลาย แปลว่าอะไร

                  คำาว่า มลาย ภาคเหนือ ออกเสียงเป็น มาย ภาคกลางก็ควรเป็น ไม้ลาย แต่ว่าคำาว่า ลาย
                  ที่แปลว่า มลาย นั้น สูญหายไปแล้ว ยังเหลือคำาว่า มาย ภาคเหนือ ที่แปลว่า คลี่ออก ฉะนั้น

                  ไม้ม้วน ก็เป็น ไม้ที่ม้วนเข้า ไม้มลาย คือ ไม้ที่คลายออกไป ฉะนั้น ทางประเทศลาวเขาเรียก
                  สระนี้ว่า ไม้มาย คือ มันเป็นไม้ที่คลายออก มันไม่ม้วนเข้า เหมือนไม้ม้วน อย่างนี้เป็นต้น

                  ถ้าเรารู้สิ่งเหล่านี้เราก็จะตีความอะไรได้มากยิ่งขึ้น

                         อย่างในโคลงประกาศแช่งนำ้า บอกว่าเป็นเรือนอินถาเถือก เราจะไปนึกว่า เป็น
                  เรือนอิน คือพระอินทร์และก็ถาเถือก ผมเคยสงสัยว่าเป็นไงเป็นแนวหรือ หรือถาแปลว่าอะไร

                  ที่ถูก เป็นเรือนอินถา อินถา ก็คือ อินทรา ของภาคเหนือ แต่เขาออกเสียงเป็น อินถา ไป



                                                                                             125
   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131   132