Page 89 -
P. 89
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
70 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาในส่วนการประกอบพิธีกรรมในศาสนสถานซึ่งมี
รายละเอียดแตกต่างกัน ดังพบว่าเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมจะกล่าวถึงพิธีทาง
ศาสนาที่กระท าขึ้น 18 ครั้ง และมีการจัดพิธีสงกรานต์ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจ าทุกๆ ปี มี
พิธีเฉลิมฉลองรูปเคารพของพระนางปรัชญาปารมิตาที่จัดขึ้นในวันแรม 8 ค ่าไปจนถึง
วันขึ้น 15 ค ่า ของเดือนไจตระ ซึ่งเป็นฤดูใบไม้ผลิ (Pradeep Kumar Kapur and
SachchidanandSahai, 2007, p. 52-53) พิธีกรรมดังกล่าวนี้ไม่ได้ระบุไว้ในจารึกปราสาท
พระขรรค์ หากแต่เนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์เฉพาะเจาะจงที่การท าพิธีเบิกพระเนตร
รูปเคารพ (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 87)
8. จารึกปราสาทตาพรหมในฐานะต้นแบบจารึกปราสาทพระขรรค์
เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์แสดงให้เห็นถึง
ความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น ยังท าให้เห็นถึงความเป็นต้นแบบ
ของจารึกปราสาทตาพรหมที่ส่งอิทธิพลมายังการแต่งจารึกปราสาทพระขรรค์ด้วย ดัง
รายละเอียดที่จะอภิปรายใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ล าดับเวลาของการเขียนจารึกและ
สถานภาพของผู้ประพันธ์ (2) โครงสร้างของเนื้อหาและรายละเอียดของเนื้อหา และ
(3) การสร้างสรรค์อลังการ ดังนี้
8.1 ล าดับเวลาของการเขียนจารึกและสถานภาพของผู้ประพันธ์
จารึกปราสาทตาพรหมเป็นต้นแบบของการแต่งบทสดุดีพระเจ้าชัยวรมันที่
7 ซึ่งส่งอิทธิพลต่อการแต่งจารึกปราสาทพระขรรค์ในเวลาต่อมา ข้อยืนยันดังกล่าวคือ
ช่วงระยะเวลาของก่อสร้างปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์ เห็นได้จากจารึก
ปราสาทตาพรหมสร้างขึ้นในช่วงที่มีการสถาปนาปราสาทตาพรหม เพื่อเป็นพุทธวิหาร
ประดิษฐานรูปเคารพพระนางปรัชญาปารมิตา ในปีมหาศักราช 1108 ก่อนที่จะสร้าง
รูปเคารพพระโลเกศวรที่มีนามว่าศรีชยวรเมศวร ซึ่งประดิษฐานไว้ภายในปราสาท
พระขรรค์ ในปีมหาศักราช 1113 ด้วยระยะเวลาการก่อสร้างปราสาททั้งสองหลังที่