Page 91 -
P. 91

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           72        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          และจารึกปราสาทพระขรรค์ พบว่าโครงสร้างเนื้อหาในส่วนแรกที่เป็นบทบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
          กับโครงสร้างเนื้อหาในส่วนที่สองที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จารึกทั้งสองหลัก
          มีรายละเอียดเหมือนกันทุกประการ ในที่นี้ น่าจะแสดงให้เห็นถึงความสามารถของ
          ผู้ประพันธ์จารึกปราสาทตาพรหมได้เป็นอย่างดี เพราะเนื้อหาในจารึกตั้งแต่โศลกแรก

          จนถึงโศลกที่ 18 เนื้อหาสื่อความหมายครบถ้วนสมบูรณ์นับตั้งแต่การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
          จนถึงการบ่งชี้ถึงสายตระกูลของกษัตริย์อย่างเป็นล าดับชั้น โดยเฉพาะเชื้อสายทาง
          ฝ่ายพระราชมารดาซึ่งมีการพรรณนาอย่างละเอียด จะเห็นได้ว่าเนื้อความที่แต่งไว้
          อย่างยอดเยี่ยมส่งผลให้ผู้แต่งจารึกปราสาทพระขรรค์น าเนื้อหาช่วงตอนต้นของจารึก

          ปราสาทตาพรหมมากล่าวซ ้าอีก ต่อจากนั้นจึงแสดงรายละเอียดเนื้อหาให้แตกต่าง
          ออกไป อนึ่ง จะเห็นได้ว่าความส าคัญของโครงสร้างเนื้อหาของจารึกทั้งสองหลักที่
          สอดคล้องกันเป็นกรอบการสร้างเนื้อหาจารึกให้มีเอกภาพ ท าให้รายละเอียดที่
          ผู้ประพันธ์แจกแจงรายการสิ่งของภายในศาสนสถานซึ่งมีอยู่เป็นจ านวนมาก รวมทั้ง
          ชื่อเฉพาะ อาทิ เมืองต่างๆ หรือรูปปั้นพระนามต่างๆ ล้วนแสดงเนื้อหาอย่างเป็น
          สัดส่วน และสามารถจ าแนกรายละเอียดปลีกย่อยของเนื้อหาได้อย่างชัดเจนด้วย


          8.3 การสร้างสรรค์อลังการ

                 จารึกปราสาทตาพรหมมีอิทธิพลต่อการแต่งจารึกปราสาทพระขรรค์อยู่มาก
          จะเห็นได้จากการสร้างสรรค์อลังการหรือความงดงามของบทประพันธ์ในมิติที่เหมือนกัน

          ดังเช่น เนื้อหาในโศลกที่ 19 จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์กล่าวถึง
          พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขณะประสูติไว้สอดคล้องกัน ผู้แต่งใช้แนวคิดกวิสมยะ (ขนบการ
          ประพันธ์ของกวี) โดยกล่าวอ้างว่าพระพรหมเป็นเทพผู้รังสรรค์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
          ให้เป็นต้นแบบของมนุษย์บนโลก จารึกปราสาทตาพรหมกล่าวว่าพระพรหมได้
          “ทอดพระเนตรร่างของพระการตติเกยะที่แยกกันอยู่ ถูกท าให้เป็นหนึ่งเดียว ด้วย
          ความยินดี คือ การกอดกันอย่างแนบแน่น ก็เลยทรงสร้างพระองค์ (พระเจ้าชัยวรมันที่

          7) ขึ้นมาให้เป็นขุมทรัพย์เพียงหนึ่งเดียว” (นิพัทธ์ แย้มเดช, 2558, น. 124-125) ส่วน
          จารึกปราสาทพระขรรค์กล่าวว่า “พระพรหมเมื่อประสงค์ที่จะสร้างคงจะได้รวบรวมความ
          งามในโลก แล้ววางความงามที่รดด้วยน ้าอมฤตแล้วไว้บนที่รองรับ (ร่างกาย) แล้วจึง
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96