Page 90 -
P. 90
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 71
ห่างกัน 5 ปี จารึกปราสาทตาพรหมจึงสร้างขึ้นก่อนจารึกปราสาทพระขรรค์ และการ
ที่เนื้อหาจารึกทั้งสองหลักระบุถึงชื่อผู้ประพันธ์ ซึ่งมีการให้รายละเอียดไว้ในโศลกบท
สุดท้ายว่าผู้ประพันธ์เป็นพระโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แม้จะไม่ใช่ผู้ประพันธ์คน
เดียวกันแต่ก็ได้ประสูติจากพระราชบิดาเดียวกัน ดังนั้นสถานภาพของผู้ประพันธ์จึงมี
ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน อีกทั้งน่าจะมีความใกล้ชิดกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อยู่มาก
เนื้อความจารึกปราสาทตาพรหมที่เจ้าชายศรีสูรยกุมารแต่งขึ้นก่อน เพื่อให้
มีจุดมุ่งหมายสดุดีพระเกียรติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 น่าจะเป็นที่รับรู้ภายในราชส านัก
และอาจเป็นไปได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พอพระทัยการแต่งค าประพันธ์ของเจ้าชาย
ศรีสูรยกุมารผู้เป็นพระโอรสอยู่ไม่น้อย เนื่องจากจารึกปราสาทตาพรหมแสดงรายละเอียด
ว่าเจ้าชายศรีสูรยกุมารเป็นอาลักษณ์จดจารเนื้อความตามกระแสรับสั่งของพระเจ้า
ชัยวรมันที่ 7 เนื้อหาที่เจ้าชายศรีสูรยกุมารจดจารขึ้นมานี้ เจ้าชายศรีวีรกุมารน่าจะ
ทรงได้อ่านบทประพันธ์ด้วย เพราะฉะนั้นเวลาต่อมาเมื่อเจ้าชายศรีวีรกุมารแต่งบท
จารึกสดุดีพระเกียรติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ขึ้นอีกหลักหนึ่งโดยประดิษฐานไว้ภายใน
ปราสาทพระขรรค์ เจ้าชายศรีวีรกุมารจึงน าเนื้อความที่เจ้าชายศรีสูรยกุมารแต่งไว้ดี
อยู่แล้วมาอ้างถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์นั่นเอง
8.2 โครงสร้างของเนื้อหาและรายละเอียดของเนื้อหา
จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์มีโครงสร้างของเนื้อหา 4
ส่วน สอดคล้องกัน เริ่มตั้งแต่โครงสร้างเนื้อหาที่เป็นบทบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โครงสร้าง
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โครงสร้างเนื้อหาที่ระบุถึงรายละเอียด
รายการสิ่งของที่อุทิศภายในปราสาท และโครงสร้างเนื้อหาล าดับสุดท้าย คือ บทลงท้าย
ซึ่งเป็นสารของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 การที่จารึกทั้งสองหลักมีโครงสร้างเนื้อหา
สอดคล้องกันนี้ ท าให้เห็นถึงความเป็นต้นแบบของจารึกปราสาทตาพรหมซึ่งส่ง
อิทธิพลมายังการแต่งจารึกปราสาทพระขรรค์ ดังที่จารึกปราสาทพระขรรค์ยังคง
รูปแบบโครงสร้างของเนื้อหาและรายละเอียดของเนื้อหาไว้สอดคล้องกับจารึกปราสาท
ตาพรหม จากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะร่วมของเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหม