Page 92 -
P. 92
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 73
ได้ทรงสร้างพระองค์ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยลักษณะที่ดี” (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531,
น. 84) อย่างไรก็ตามเนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์หลายบทพยายามเน้นอลังการให้
สลับซับซ้อนยิ่งกว่าอลังการในจารึกปราสาทตาพรหม โดยการอ้างถึงตัวละครในมหากาพย์
ของอินเดียหลากหลายมากกว่าในจารึกปราสาทตาพรหม ดังเนื้อหาในโศลกหลายบท
ของจารึกปราสาทพระขรรค์อ้างถึงตัวละครในมหากาพย์ของอินเดียเพื่อสื่อ
จินตนาการให้มีมิติงดงามยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น เนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์ โศลกที่
30 เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถวายเทวรูปเต้นร าสององค์ซึ่งหล่อด้วยทองค าประดิษฐาน
ไว้ภายในปราสาทพระขรรค์ ผู้แต่งกล่าวว่า “รูปทั้งสองนั้นเป็นเหมือนกับพระราฆวะ
ทั้งสอง” (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 86) คือ เปรียบเทียบรูปเคารพว่ามีความ
งดงามและมีชีวิตจิตใจราวกับราฆวะ (พระรามและพระลักษณ์) และเนื้อหาโศลกที่ 31
ผู้แต่งแสดงความฉงนฉงายโดยกล่าวถึงพระรามและภีษมะที่ได้รับการสดุดี เพียงเพราะ
พระบิดาเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั่วครู่ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แล้ว
“ฝ่ายพระองค์จะได้รับการสดุดีขนาดไหน ในเมื่อพระโลกนาถผู้เกิดขึ้นเองและมีสี่กร
ได้รับการกราบไหว้บูชาตลอดเวลา” (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 86)
จากการพิจารณาภูมิหลังของจารึกปราสาทตาพรหมซึ่งแต่งขึ้นก่อนจารึก
ปราสาทพระขรรค์อยู่หลายปี การพิจารณาสถานภาพของผู้แต่งซึ่งมีความสัมพันธ์
ใกล้ชิดกัน รวมทั้งเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมซึ่งมีการจัดวางโครงสร้างของเนื้อหา
อย่างเป็นระบบ และรายละเอียดของเนื้อหาเป็นบทประศัสติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มี
ลีลาการแต่งอย่างประณีต มีอลังการงดงาม จารึกปราสาทตาพรหมจึงเป็นต้นแบบ
การเขียนบทประศัสติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ส่งอิทธิพลต่อการแต่งจารึกปราสาท
พระขรรค์ โดยเฉพาะในส่วนของโครงสร้างเนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์ มีการแบ่ง
รายละเอียดของเนื้อหาเป็นสัดส่วนเช่นเดียวกับเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมตั้งแต่
ล าดับเนื้อหาบทบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เนื้อหาเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทั้งรายละเอียด
ของเชื้อสายกษัตริย์และบทยกย่องพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้าง
สิ่งก่อสร้าง และรายการสิ่งของที่อุทิศถวายภายในศาสนสถาน และเนื้อหาในบทลงท้าย
นอกจากนี้ลีลาการแต่งที่งดงามลึกซึ้งโดยผู้แต่งจารึกปราสาทพระขรรค์ใช้อลังการ
ร่วมกันกับจารึกปราสาทตาพรหมอยู่หลายบท และผู้แต่งจารึกปราสาทพระขรรค์
สร้างสรรค์อลังการให้พัฒนาซับซ้อนไปอีกขึ้นหนึ่งนั้น ก็น่าจะเป็นสิ่งพิสูจน์ความเป็น