Page 87 -
P. 87
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
68 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
(โศลกที่ 134) เป็นต้น ซึ่งสันนิษฐานว่าปราสาทตาพรหมน่าจะเป็นคลังเก็บเครื่องยา
สมุนไพรแล้วแจกจ่ายส่งต่อไปยังอาโรคยศาลาในแต่ละแห่ง เพราะเนื้อความจารึก
ประจ าอาโรคยศาลามีรายชื่อเครื่องยาและสมุนไพรเป็นส่วนมากที่ปรากฏตรงกับ
จารึกปราสาทตาพรหม
7.4 การกล่าวถึงชื่อเฉพาะ
ในส่วนของชื่อเฉพาะที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาท
พระขรรค์ พบว่ามีรายละเอียดแตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ประพันธ์จะระบุถึงชื่อเฉพาะไว้
ในจารึกของตน ดังนี้
7.4.1 ชื่อเฉพาะที่เป็นรูปเคารพ ชื่อหมู่บ้าน และชื่อต าแหน่ง
1) จารึกปราสาทตาพรหม ระบุถึงชื่อเฉพาะที่เกี่ยวกับรูปเหมือนบุคคลส าคัญ
ดังพบว่ามีชื่อรูปเคารพครู ได้แก่ ศรีชยมังคลารถเทวะและศรีชยกีรติเทวะ (โศลกที่ 37)
ชื่อเฉพาะที่เป็นหมู่บ้าน คือ ราชปตีนทร (โศลกที่ 30) ชื่อต าแหน่งที่พระเจ้าชัยวรมัน
ที่ 7 พระราชทานแก่บุคคลที่น่ายกย่อง ได้แก่ เทวีสวามีและเสนาปติ (โศลกที่ 33)
(2) จารึกปราสาทพระขรรค์ มีชื่อของรูปเคารพจ านวนมาก ได้แก่ พระศรีชัยวรเมศวร
(โศลกที่ 34) พระศรียโศวรเมศวร (โศลกที่ 37) พระศรีจามเปศิวรพิมพะ (โศลกที่ 38)
พระศรีราชปตีศวร พระชัยมังคลารถจูฑามณิ (โศลกที่ 113) พระศรีวิชัยราชจูฑามณิ
(โศลกที่ 158) พระศรีวีรศักติสุคตและพระพิมายสุคต (โศลกที่ 159)
7.4.2 ชื่อเฉพาะที่เป็นชื่อเมือง
จารึกปราสาทพระขรรค์บันทึกชื่อเฉพาะที่เป็นชื่อเมืองจ านวนมาก รายละเอียด
ในส่วนนี้ไม่พบในจารึกปราสาทตาพรหม ชื่อเมืองหลายชื่อที่ปรากฏในจารึกปราสาท
พระขรรค์ ได้แก่ ศรีชยันตปุระ (โศลกที่ 114) ศรีชัยราชธานี ศรีชยันตนครี ชัยสิงหวดี
ศรีชัยวีรวดี (โศลกที่ 115) ลโวทยปุระ สุวรรณปุระ ศัมพูกปัฏฏนะ ชัยราชปุรี (โศลกที่
116) ศรีชัยวัชรปุรี ศรีชัยสตัมภปุรี ศรีชัยราชคิรี ศรีชัยวีรปุรี (โศลกที่ 117) ศรีชัย
วัชรวดี ศรีชัยกีรติปุรี ศรีวิชยาทิปุรี (โศลกที่ 118) ศรีชัยสิงหคราม มัธยมครามกะ