Page 82 -
P. 82
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 63
7. ความแตกต่างของเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึก
ปราสาทพระขรรค์
เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์ในส่วนที่มี
รายละเอียดแตกต่างกัน ได้แก่ (1) เนื้อหาในส่วนที่เป็นบทสดุดีวีรกรรมพระเจ้าชัยวรมัน
ที่ 7 (2) การสร้างศาสนสถาน (3) รายการสิ่งของบางส่วนที่ถวายภายในปราสาท และ
(4) การกล่าวถึงชื่อเฉพาะ และ (5) เนื้อหาในส่วนบทลงท้าย ดังนี้
7.1 เนื้อหาในส่วนที่เป็นบทสดุดีวีรกรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์มีเนื้อหาหลักร่วมกัน คือ
การสดุดีพระคุณสมบัติอันเลิศของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เมื่อพิจารณาเนื้อหาจารึกทั้ง
สองหลักอย่างละเอียด พบว่า ผู้แต่งจะเน้นลีลาการยกย่องกษัตริย์ให้เป็นแบบฉบับ
ของตนแตกต่างกัน เนื้อหาในจารึกปราสาทตาพรหมจะเน้นให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่าทรงมีความรุ่งเรืองอย่างมาก จนเป็นที่พอพระทัยพระเทวีแห่ง
แผ่นดิน (พระนางปฤถวี) ซึ่งรับพระองค์ไว้เป็นพระสวามี อีกทั้งพระเกียรติยศของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังขจรขจายไปทั่วทั้งฝั่งมหาสมุทร ภูเขา และป่าไม้ จนกระทั่ง
เทียบเท่ากับมหาสมุทรและโลกทั้งสาม ภาพลักษณ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จะเน้น
ในทางกษัตริย์ผู้ทรงธรรม แสดงให้เห็นความมีน ้าพระทัยเมตตา กล่าวคือ มีการยกให้
อาตมันของพระองค์เองเป็นทั้งที่ตั้งของความสุขและความทุกข์แห่งสัตว์โลกทั้งหลาย
ดังเนื้อความต่อไปนี้
อาตมันแม้จะแตกต่างอย่างมากในสัตว์โลกที่มีหลายประการ
และหลายชนิด แต่ความเป็นหนึ่งเดียวของอาตมันของ
พระองค์ เป็นความจริงที่ชัดเจน เพราะว่าพระองค์ใส่ความสุข
และความทุกข์ของสัตว์โลกทั้งหลายไว้ที่อาตมัน คือ พระหทัย
ที่งดงามของพระองค์
(นิพัทธ์ แย้มเดช, 2558, น. 131)