Page 79 -
P. 79
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
60 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
6.3 เนื้อหาเกี่ยวกับรายการสิ่งของที่อุทิศถวายภายในศาสนสถาน
เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์มีสิ่งของบาง
รายการที่ระบุไว้ตรงกัน แตกต่างกันตรงล าดับบทของค าประพันธ์และบรรทัดข้อความที่
จารึกไม่ตรงกันเท่านั้น ดังที่ ยอร์ช เซเดส์ (George C d s) ให้ความเห็นว่า “เนื้อหา
ในจารึกปราสาทพระขรรค์ก็คล้ายคลึงกับจารึกที่ปราสาทตาพรหม และเป็นการง่ายที่
จะจัดท ารายการเปรียบเทียบรายรับและรายจ่ายของโบราณสถานทั้งสองแห่งนี้”
(สุภรณ์ อัศวสันโสภณ, 2513, น. 170) เนื้อหาเกี่ยวกับรายการสิ่งของที่อุทิศถวาย
ภายในศาสนสถานจ าแนกรายละเอียดได้ดังนี้
6.3.1 รายการสิ่งของประเภทที่เป็นพืชผล อาหาร และของเหลว
รายการสิ่งของประเภทที่เป็นพืชผล อาหาร และของเหลวที่ปรากฏร่วมกัน
ในจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์มีหลายชนิด ได้แก่ (1) ข้าวสาร
ส าหรับหุงต้มท าอาหาร ข้าวสารที่ไม่หัก ข้าวสารส าหรับใช้บูชา ข้าวเปลือก ข้าวสุก
(2) งา น ้ามันงา (3) ถั่วเขียว (4) พริกไทย (5) เนยใส (6) นมเปรี้ยว (7) นมสด (8)
น ้าผึ้ง (9) น ้าอ้อย (10) น ้ามันจากผลไม้ (11) ผักและผลไม้ และ (12) ขี้ผึ้ง นอกจากนี้
ยังมีการระบุสิ่งของที่เรียกว่า “โคภิกษา” พบในจารึกปราสาทตาพรหมโศลกที่ 89 และ
โศลกที่ 120 และพบในจารึกปราสาทพระขรรค์โศลกที่ 90 สันนิษฐานว่า โคภิกษา
น่าจะเป็นอาหารของวัว เพราะเนื้อหาจารึกบันทึกว่ามีสัตว์เลี้ยงอาทิ แม่วัว ลูกวัว ม้า
อาศัยอยู่บริเวณปราสาทด้วย
6.3.2 รายการสิ่งของประเภทที่เป็นผ้าและเครื่องนุ่งห่ม
รายการสิ่งของประเภทเครื่องนุ่งห่มที่อุทิศถวายแก่เทวรูปภายในปราสาท
ตาพรหมและปราสาทพระขรรค์เป็นคติการบูชาเทพซึ่งมีสถานะอันศักดิ์สิทธิ์สมควร
แต่งกายเครื่องนุ่งห่มอย่างดีแบบเดียวกับบุคคลชั้นสูง (ผาสุก อินทราวุธ, 2520, น. 20)
ดังที่จารึกปราสาทพระขรรค์กล่าวถึงผ้าห่มสีขาวและสีแดงที่เป็นเครื่องทรงเหมาะ
ส าหรับเทพและเครื่องนุ่งห่มเช่นเครื่องทรง เมื่อพิจารณาเนื้อหาจารึกทั้งสองหลัก
พบว่าผู้แต่งบันทึกรายการสิ่งของประเภทที่เป็นผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่ (1) เครื่องทรง