Page 77 -
P. 77

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           58        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          เป็นหนทางแห่งพระโพธิญาณอันประเสริฐ เป็นที่กราบไหว้บูชา และพระธรรมยังขจัด
          กิเลสที่อยู่ภายในใจ โศลกที่ 3 เนื้อหาบูชาพระสงฆ์ ผู้ที่ได้ปลดปล่อยตนเองจากความ
          ยึดมั่นถือมั่น พระสงฆ์เป็นผู้ยึดมั่นอยู่ในผลประโยชน์ของผู้อื่นที่ยังยึดติดอยู่อย่าง
          ต่อเนื่อง และเป็นผู้ที่กล่าวถึงบ่อเกิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ โศลกที่ 4 เนื้อหาบูชา

          พระโพธิสัตว์โลเกศวรผู้ทรงเป็นเหมือนต้นปาริชาตที่เคลื่อนที่ได้ เป็นที่เกิดแหล่งเดียว
          ที่ให้ก าเนิดผลซึ่งคนทั้งสามโลกต่างต้องการ และ โศลกที่ 5 เนื้อหาบูชาพระนางปรัชญา
          ปารมิตา ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติทั้งหลาย ซึ่งบุคคลจะมองเห็นได้โดยคนที่มีปัญญา
          (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 81-82) จากเนื้อหาทั้ง 5 โศลกดังกล่าว จะเห็นว่า

          คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายมหายานปรากฏอย่างเด่นชัดในราชส านักของ
          พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก่อนหน้านี้ในสมัยก่อนพระนครพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
          และหินยานไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีความส าคัญต่อราชส านักกัมพูชา คงปรากฏหลักฐาน
          เป็นพระพุทธรูปศิลปะสมัยต่างๆ และจารึกของขุนนางในปราสาทหลังเล็กๆ เท่านั้น
          (กังวล คัชชิมา, 2550, น. 129) ดังนั้น เมื่อราชส านักกัมพูชาอยู่ในช่วงสมัยที่พระเจ้า
          ชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายานเช่นเดียวกับพระราชบิดาของ

          พระองค์ รวมทั้งทรงอภิเษกสมรสกับธิดาตระกูลเก่าแก่ที่นับถือพระพุทธศาสนา
          (หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล, 2547, น. 19) จารึกที่ประพันธ์ขึ้นไม่ว่าจะเป็นจารึกที่
          พระราชโอรสหรือพระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่งขึ้นจึงเปิดเรื่องด้วยบทบูชา
          พระรัตนตรัยอยู่เสมอ


          6.2  เนื้อหาเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยการบันทึกเชื้อสายวงศ์ตระกูล

                 เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์โศลกที่ 6-18
          แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยการบันทึกเชื้อสายวงศ์ตระกูล
          ของพระองค์ ผู้แต่งจารึกทั้งสองหลักคงรายละเอียดพื้นหลังเชื้อสายวงศ์ตระกูลของ
          พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยมีเนื้อหาที่เหมือนกัน ไม่ได้เพิ่มเติมหรือดัดแปลงแก้ไข ทั้งนี้

          แสดงให้เห็นว่าเนื้อหาดังกล่าวมีความส าคัญมาก เนื่องจากเป็นบทประศัสติที่ยกย่อง
          เชื้อสายวงศ์ตระกูลมหิธรปุระที่สืบต่อมาถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เนื้อหาส่วนนี้ในจารึก
          ทั้งสองหลักจะให้รายละเอียดบุคคลส าคัญต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าชัยวรมัน
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82