Page 72 -
P. 72
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 53
ด้วย ดังที่ว่า “จารึก 18 บทแรกคล้ายกับจารึกที่ปราสาทตาพรหม คือบทที่ 1-3 สรรเสริญ
พระรัตนตรัย บทที่ 4 สรรเสริญพระโพธิสัตว์โลเกศวร และบทที่ 5 สรรเสริญนางปรัชญา
ปารมิตา บทที่ 6-18 กล่าวถึงราชสกุลวงศ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งมีผิดเพี้ยนไป
จากศิลาจารึกปราสาทตาพรหมแต่เพียงเล็กน้อย ตั้งแต่บทที่ 19-31 ก็เป็นค าสรรเสริญ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งผิดแผกไปจากจารึกปราสาทตาพรหมบ้าง”
เนื้อหาที่เหมือนกันระหว่างจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์
นั้น นิพัทธ์ แย้มเดช (2558, น. 465-466) ศึกษาจารึกปราสาทตาพรหมอย่างละเอียด
โดยวิเคราะห์อลังการในจารึกปราสาทตาพรหม ผลการศึกษาส่วนหนึ่งชี้ให้เห็นความ
เหมือนกันของเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์ นอกจาก
เนื้อหาช่วงตอนต้นเรื่องจะปรากฏรายละเอียดพ้องกันแล้ว เนื้อหาในส่วนที่เป็นรายการ
สิ่งของถวายแก่เทวรูปและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวภายในศาสนสถาน
มีเนื้อหาบางส่วนในจารึกทั้งสองหลักที่ตรงกันและใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ผล
การศึกษายังพบว่าอลังการในจารึกปราสาทตาพรหมเป็นกลวิธีการสร้างเนื้อหาจารึกที่
ส่งอิทธิพลต่อการเขียนจารึกปราสาทพระขรรค์ด้วย ข้อสรุปดังกล่าวพิจารณาจารึกทั้ง
สองหลักซึ่งอยู่ร่วมยุคสมัยเดียวกันและมีอลังการที่สอดคล้องกัน แต่ในงานศึกษา
ดังกล่าวเป็นแต่ตั้งข้อสังเกตเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์
ที่เหมือนกันเท่านั้น ยังไม่ได้ขยายผลศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาจารึกทั้งสองหลักให้เห็น
รายละเอียดอย่างชัดเจน
รายละเอียดเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์ ดังที่
นักวิชาการตั้งข้อสังเกตถึงความเหมือนและความแตกต่างดังกล่าว หากศึกษาเปรียบเทียบ
เนื้อหาจารึกทั้งสองหลักอย่างละเอียด จะท าให้สามารถจ าแนกรายละเอียดเนื้อหาใน
จารึกทั้งสองหลักได้ชัดเจน เห็นลักษณะเฉพาะของเนื้อหาในจารึกทั้งสองหลัก รวมทั้ง
เข้าใจวัตถุประสงค์ของการเขียนจารึกทั้งสองหลักได้ชัดเจนยิ่งขึ้น