Page 76 -
P. 76
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 57
จากข้อมูลที่ระบุชื่อผู้แต่งในจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์
แสดงว่าจารึกทั้งสองหลักผู้ประพันธ์ไม่ใช่คนเดียวกัน แต่เป็นบุคคลที่อยู่ในราชส านัก
ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อย่างใกล้ชิด กล่าวคือ ผู้แต่งจารึกทั้งสองหลักล้วนเป็น
พระโอรสที่ประสูติจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ประสูติจากพระมเหสีคนละองค์กัน
(สุภรณ์ อัศวสันโสภณ, 2513, น. 176-177)
6. ลักษณะร่วมของเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึก
ปราสาทพระขรรค์
โครงสร้างเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์แบ่ง
ออกเป็น 4 ส่วน ปรากฏรายละเอียดตรงกัน ดังต่อไปนี้ (1) บทบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตาม
คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา (2) เนื้อหาเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยการ
บันทึกเชื้อสายวงศ์ตระกูล (3) เนื้อหาเกี่ยวกับรายการสิ่งของที่อุทิศถวายภายใน
ศาสนสถาน และ (4) เนื้อหาในส่วนที่เป็นบทลงท้าย ซึ่งเป็นสารของกษัตริย์ เมื่อพิจารณา
โครงสร้างเนื้อหาทั้ง 4 ส่วนข้างต้น พบว่ามีลักษณะร่วม ดังนี้
6.1 บทบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนา
เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์ช่วงตอนต้นเป็น
บทประณามพจน์บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน
ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พระโพธิสัตว์โลเกศวร และพระนางปรัชญา
ปารมิตา เนื้อหาส่วนนี้ของจารึกทั้งสองหลักปรากฏโศลกล าดับที่ 1 จนถึงโศลกล าดับ
ที่ 5 เช่นเดียวกัน มีรูปแบบฉันทลักษณ์ตรงกัน คือ ใช้รูปแบบวสันตดิลกฉันท์ในโศลก
ที่ 1 ถึงโศลกที่ 4 ส่วนเนื้อหาโศลกที่ 5 ใช้อุปชาติฉันท์ เนื้อหาทั้ง 5 โศลกสรุป
รายละเอียดดังนี้ โศลกที่ 1 เนื้อหาบูชาพระพุทธเจ้า ผู้แบ่งพระกายออกเป็น 3 ส่วน
ได้แก่ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย โศลกที่ 2 เนื้อหาบูชาพระธรรม ซึ่ง