Page 71 -
P. 71

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           52        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          1.  บทน า


                 จารึกเป็นแหล่งข้อมูลส าคัญที่สะท้อนค่านิยม ความเชื่อ และอุดมการณ์ของ
          สังคมมนุษย์ในอดีต ดังที่ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร (2549, น. 88) ผู้เชี่ยวชาญ
          ด้านจารึกกล่าวว่า “ศิลาจารึกจัดเป็นเอกสารอ้างอิงอันดับหนึ่ง ต านานจัดเป็นเอกสาร
          อ้างอิงอันดับสอง เพราะศิลาจารึกมักจะกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นและ

          ไม่ได้คัดลอกผิดพลาดตกหล่นต่อๆ กัน” ที่น่าสนใจคือ การบันทึกเนื้อหาจารึกลงบน
          วัตถุประเภทต่างๆ มักประกาศเจตนารมณ์ของผู้แต่งไว้ชัดเจน ตัวอย่างการสดุดี
          พระเกียรติของกษัตริย์หรือยกย่องผู้น าดังที่เรียกว่า บทประศัสติ (Praśasti) (Monier-
          Williams,1960, p. 695) ผู้แต่งจารึกจะตั้งใจแต่งเนื้อหาให้ประณีตงดงาม มีอลังการ
                 ,
          ลึกซึ้งเนื้อหาของจารึกในลักษณะดังกล่าวพบเป็นจ านวนมากในประเทศกัมพูชา

                 จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์เป็นจารึกหลักส าคัญใน
          อาณาจักรกัมพูชา เนื้อหาจารึกทั้งสองหลักให้รายละเอียดเกี่ยวกับพระเจ้าชัยวรมันที่
          7 ในด้านความเป็นวีรบุรุษและพระราชาที่ยึดมั่นในคติธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่าง

          สูงสุด นอกจากนี้ จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์ยังมีลีลาการแต่ง
          เป็นบทประศัสติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีเนื้อหาเป็นสัดส่วน ดังที่ Thomas S. Maxwell
          (2007, p. 12-30) ศึกษาจารึกปราสาทพระขรรค์ ได้แบ่งเนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์
          ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นพระราช
          ประวัติพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แก่ โศลกที่ 6-18 ซึ่งแบ่งเนื้อหาในส่วนนี้ออกเป็นเชื้อสาย
          พระราชบิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ตั้งแต่โศลกที่ 13-18 กับส่วนที่สอง เนื้อหาบท

          ประศัสติ ตั้งแต่โศลกที่ 19-31 เนื้อหาเน้นที่ความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7

                 โครงสร้างเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์มี
          รายละเอียดที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
          (2509, น. 52) เรียบเรียงบทความเรื่อง “ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ของพระเจ้า
          ชัยวรมันที่ 7” จากใจความส าคัญของบทความ La stèle de Prah Khan d' Ankor ของ
          ยอร์ช เซเดส์ (George Cœdès) ความตอนหนึ่งกล่าวว่าจารึกปราสาทพระขรรค์มี
          เนื้อหาบางส่วนคล้ายกันกับจารึกปราสาทตาพรหมและมีรายละเอียดบางส่วนต่างกัน
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76