Page 74 -
P. 74

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   55


                 5.  รายละเอียดเบื้องต้นของจารึกปราสาทตาพรหมและจารึก
                    ปราสาทพระขรรค์



                        จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์สร้างขึ้นในช่วงที่พระเจ้า
                 ชัยวรมันที่ 7 เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรกัมพูชา หลังจากที่พระองค์ทรงมีชัยชนะ
                 เหนือกองทัพจามแล้ว พระราชภารกิจของพระองค์เมื่อขึ้นครองราชย์ก็คือการพัฒนา
                 ประเทศจนเจริญรุ่งเรืองสูงสุด (อุไรศรี วรศะริน, 2545, น. 89) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
                 ทรงสถาปนาปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์เพื่อเป็นพื้นที่ประกอบกิจกรรม

                 ทางศาสนาและสร้างจารึกประดิษฐานไว้ภายในปราสาทด้วย จะเห็นได้จากภูมิหลัง
                 ของจารึกปราสาทตาพรหมที่สร้างขึ้นเมื่อมีการสถาปนาปราสาทตาพรหมในปี
                 มหาศักราช 1108 หรือพุทธศักราช 1729 โดยพระบรมราชโองการของพระเจ้าชัยวรมัน
                 ที่ 7 ให้เป็นราชวิหารแห่งพระราชมารดา (C d s, 1906, p. 75) ภายในปราสาทตาพรหม

                 เป็นที่ตั้งพระรูปของพระนางศรีชัยราชจูฑามณีในรูปลักษณ์ของพระนางปรัชญา
                 ปารมิตา ซึ่งเป็นเทวีแห่งปัญญา (Kapur & Sahai, 2007, p. 29)

                        การก่อสร้างปราสาทตาพรหมบ่งชี้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงอุทิศบุญกุศล
                 ที่ทรงสั่งสมถวายแด่พระราชมารดาของพระองค์ (Freeman & Jacques, 2009, p. 136)
                 ส่วนจารึกปราสาทพระขรรค์สร้างขึ้นช่วงหลังที่มีการก่อสร้างปราสาทตาพรหมแล้ว
                 คือ ราวปีมหาศักราช 1113 หรือพุทธศักราช 1734 (C d s, 1941, p. 288) พระเจ้า
                 ชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์เพื่ออุทิศให้แก่พระเจ้าศรีธรณีนทรวรมันที่ 2
                 ผู้เป็นพระราชบิดา (สุภรณ์ อัศวสันโสภณ, 2513, น. 166) ภายในปราสาทพระขรรค์

                 เป็นที่ประดิษฐานรูปประติมากรรมพระเจ้าศรีธรณีนทรวรมันที่ 2 ในรูปลักษณ์ของ
                 พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (Jacques, 1999, p. 138) ซึ่งนิยมเรียกกันในแหลมอินโดจีน
                 ว่าพระโพธิสัตว์โลเกศวร อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความเมตตากรุณา (หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ
                 ดิศกุล, 2539, น. 12)

                        การสร้างรูปเคารพพระนางศรีชัยราชจูฑามณีและพระเจ้าศรีธรณีนทรวรมันที่ 2
                 ภายในปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์ด าเนินตามคตินิยมความเชื่อทาง
                 พระพุทธศาสนานิกายมหายาน ดังนั้น จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79