Page 73 -
P. 73

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           54        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          2.  วัตถุประสงค์ของการศึกษา


                 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหม
          และจารึกปราสาทพระขรรค์ โดยจะชี้ให้เห็นว่าเนื้อหาของจารึกทั้งสองหลักมีลักษณะ
          ร่วมและลักษณะที่แตกต่างอย่างไรและการศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาของจารึกแสดง
          ให้เห็นถึงความเป็นต้นแบบของจารึกหลักหนึ่งที่ส่งอิทธิพลมายังจารึกอีกหลักหนึ่งได้

          อย่างไร


          3.  สมมติฐานของการศึกษา


                 เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์มีรายละเอียดที่
          สอดคล้องกันและรายละเอียดบางประการที่ผู้แต่งเน้นเนื้อหาให้แตกต่างกัน เมื่อพิจารณา
          ช่วงเวลาการแต่งจารึก โครงสร้างเนื้อหา รายละเอียดของเนื้อหา และการสร้างสรรค์
          อลังการในจารึก จารึกปราสาทตาพรหมซึ่งแต่งขึ้นก่อนอาจเป็นต้นแบบของการแต่ง
          จารึกปราสาทพระขรรค์ในเวลาต่อมา



          4.  ขอบเขตของการศึกษา


                 ผู้ศึกษาใช้ฉบับแปลจารึกปราสาทตาพรหมเป็นภาษาไทยจากวิทยานิพนธ์
          เรื่อง “การศึกษาอลังการในจารึกปราสาทตาพรหมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7” ของภาควิชา
          ภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ส่วนฉบับแปลจารึกปราสาท

          พระขรรค์เป็นภาษาไทย ผู้วิจัยใช้ฉบับแปลของจิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ตีพิมพ์บทความ
          จารึกปราสาทพระขรรค์ในนิตยสารไทย-ภารตะ เมื่อ พ.ศ.2531
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78