Page 78 -
P. 78
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 59
ที่ 7 นับย้อนไปตั้งแต่ต้นบูรพกษัตริย์ต้นวงศ์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 คือ พระเจ้าศรุตวรมัน
และต้นวงศ์ทางฝ่ายพระราชมารดา คือ พระนางกัมพุชราชลักษมี และพระนามบุคคล
ส าคัญเรียงล าดับสืบต่อมา รายละเอียดที่กล่าวถึงภูมิหลังทางเชื้อสายวงศ์ตระกูลของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นการประกาศความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์ เมื่อพระเจ้า
ชัยวรมันที่ 7 ปกครองราชอาณาจักรกัมพูชาได้อย่างเหมาะสมเพราะเชื้อสายของ
พระองค์สืบต่อมาจากบูรพกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในอดีต มีการรับรองถึงความบริสุทธิ์ของ
วงศ์ตระกูลที่ต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน
เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์โดยรวมตั้งแต่
โศลกที่ 6-18 ผู้ประพันธ์กล่าวถึงบุคคลส าคัญในสายตระกูลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อสายของพระองค์ดังนี้ (1) พระเจ้าศรุตวรมัน (2) พระเจ้า
เศรษฐวรมัน (3) พระนางกัมพุชราชลักษมี (4) พระเจ้าภววรมันที่ 1 (5) พระเจ้าหรรษ
วรมัน (6) พระนางชัยราชจูฑามณี (7) พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 (8) พระเจ้ามหีธราทิตยะ
(9) พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 (10) พระนางราชปตีนทรลักษมี (11) พระเจ้าธรณีนทรวรมัน
ที่ 2 (12) พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระนามบุคคลส าคัญร่วมเชื้อสายพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ดังกล่าวนี้ สังเกตได้ว่าผู้สร้างเนื้อหาไม่เพียงให้ข้อเท็จจริงโดยโยงความสัมพันธ์ของ
บุคคลส าคัญตามล าดับชั้นเท่านั้น แต่ยังน าเสนอคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่สมบูรณ์ของ
วงศ์ตระกูล รวมทั้งพระคุณลักษณะอันเลิศของบุคคลส าคัญด้วย ที่น่าสังเกตคือเมื่อ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประสูติ ผู้แต่งจารึกทั้งสองหลักแสดงภาพสะท้อนในแง่
จินตนาการว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มิได้ทรงถือก าเนิดมาแบบมนุษย์โดยทั่วไป หากแต่
เป็นผลงานการสร้างสรรค์โดยพระพรหม เทพผู้สร้างที่ได้สร้างพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ให้เป็นต้นแบบมนุษย์ ในส่วนภาพลักษณ์ด้านความงามว่าราวกับพระกามเทพ และ
ความรุ่งเรืองเพราะพระลักษมีหรือพระศรีมาสถิตที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นการใช้
อลังการสร้างภาพลักษณ์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งปรากฏทั้งจารึกปราสาทตาพรหม
และจารึกปราสาทพระขรรค์