Page 83 -
P. 83
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
64 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
จารึกปราสาทตาพรหมยังแสดงให้เห็นความมีน ้าพระทัยเมตตาของพระเจ้า
ชัยวรมันที่ 7 ซึ่งพระราชทานอภัยโทษให้แก่ข้าศึก จะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่พระเจ้า
ชัยวรมันที่ 7 เสด็จไปท าสงครามที่อาณาจักรจามปา ถึงแม้พระองค์จะทรงมีชัยชนะ
จับกษัตริย์เมืองจามปาได้แล้วแต่ก็ทรงปล่อยไม่ได้ท าอันตรายแต่อย่างใด จารึก
ปราสาทตาพรหมแสดงภาพลักษณ์ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มิใช่กษัตริย์ที่มีน ้าพระทัย
โหดร้ายดังที่ว่า
เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เสด็จมาที่เมืองจามปา ในการสงคราม
ได้ทรงจับกษัตริย์ของเมืองนั้น และได้ทรงปล่อย ราวกับว่า
น ้าอมฤต คือ ชีวประวัติของพระองค์ที่ถูกได้ยินแล้ว และถูก
น ามาด้วยกระพุ่มมือโดยกษัตริย์องค์อื่น แล้วรดลงบนศีรษะ
กษัตริย์จามปาพระองค์นั้น เพื่อจะท าให้ความร้อนที่เกิดขึ้น
จากไฟ คือ อ านาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้ดับลง
(นิพัทธ์ แย้มเดช, 2558, น. 132)
เมื่อพิจารณาเนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์ในส่วนบทสดุดีวีรกรรมพระเจ้า
ชัยวรมันที่ 7 แสดงรายละเอียดภาพลักษณ์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่โดดเด่นที่สุด คือ
ทรงเป็นกษัตริย์ยอดนักรบ เนื้อหาจารึกหลายบทยืนยันว่าพระองค์มีความยิ่งใหญ่ใน
สมรภูมิรบและทรงมีชัยชนะข้าศึกได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างเช่นเนื้อหาในบทที่ 23 ผู้แต่ง
เปรียบพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นไฟเอารวะ (หมายถึงไฟที่เกิดจากในมหาสมุทร) โดย
พระราชอ านาจของพระองค์ได้เผาไหม้ศัตรูเหมือนไฟที่ลุกไหม้บนกองของดิบได้
อย่างง่ายดาย นอกจากนี้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ยังเปรียบเป็นไฟป่า และเป็นพระจันทร์
ในหมู่ดอกบัว ดังเนื้อความต่อไปนี้
พระองค์เป็นไฟเอารวะ ที่กองของดิบคือกองทัพของศัตรู
(หรือในทะเลคือกองทัพของศัตรู) และเป็นไฟป่าในป่าคือ
อาวุธของศัตรู เป็นพระจันทร์ในหมู่ของดอกบัว คือราชาของ
ศัตรูของพระองค์ที่มานอบน้อม อ านาจของพระองค์ (แผ่
กระจายไป) เหมือนแสงของอาวุธของพระนารายณ์
(จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 85)