Page 88 -
P. 88
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 69
สมเรนทรคราม ศรีชัยปุรี (โศลกที่ 119) วีราโรตตรกะ ปูรพาพาส (โศลกที่ 120) เมือง
ยโสธรปุระ ประเทศจามปา (โศลกที่ 122) เมืองวิมาย เมืองชัยวดี เมืองชัยสิงหวดี
(โศลกที่ 123) เมืองชัยวีรวดี เมืองชัยราชคีรี เมืองศรีสุวีรปุรี (โศลกที่ 124) (หม่อมเจ้า
สุภัทรดิศ ดิศกุล, 2509, น. 56-57)
7.4.3 ชื่อเฉพาะที่เป็นชื่อตัวละครในวรรณคดีของอินเดีย
(1) จารึกปราสาทตาพรหม ระบุชื่อเฉพาะที่เป็นตัวละครในมหาภารตะ คือ
ชนเมชัย (โศลกที่ 26) และ (2) จารึกปราสาทพระขรรค์ ระบุชื่อเฉพาะที่เป็นตัวละคร
ในรามายณะและมหาภารตะ ได้แก่ เจ้าแห่งเจทิ พระเจ้าคาฒิ ฤาษีฤจีกะ (โศลกที่ 28)
พระรามภารควะ (ปรศุราม) (โศลกที่ 29) อินทรชิต (โศลกที่ 30) ภีษมะ (โศลกที่ 31)
อนึ่ง ในจารึกปราสาทพระขรรค์ยังกล่าวถึงชื่อของพราหมณ์ได้แก่ ศรีสูรยภัฏฏะ
(โศลกที่ 166) และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ได้แก่ นายพรานชิเตนทร
(ถวายที่นั่งท าด้วยไม้แด่พระพุทธเจ้า) (โศลกที่ 167) ซึ่งชื่อเฉพาะดังกล่าวนี้ไม่พบใน
จารึกปราสาทตาพรหม
7.5 เนื้อหาในส่วนบทลงท้าย
เนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์ในส่วนบทลงท้าย
หรือบทจบเรื่องมีความแตกต่างกัน เห็นได้จากการระบุรายละเอียดของผู้แต่ง ผู้แต่ง
จารึกปราสาทตาพรหมให้ข้อมูลว่าพระองค์มีพระนามว่า ศรีสูรยกุมาร เป็นพระโอรส
ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประสูติจากพระอัครมเหสีได้แต่งบทสรรเสริญนี้ ส่วนผู้แต่ง
จารึกปราสาทพระขรรค์ให้ข้อมูลว่าพระองค์มีพระนามว่า ศรีวีรกุมาร เป็นพระโอรสของ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประสูติจากพระนางราเชนทรเทวี พระอัครมเหสีของพระเจ้าชัยวรมัน
ที่ 7 และยังขยายรายละเอียดมากกว่าเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหม โดยแจกแจง
พระคุณสมบัติของเจ้าชายศรีวีรกุมารว่าเป็นผู้คงแก่เรียน เป็นผู้ที่อยู่แนวหน้าบรรดา
ทหาร มีความงามชนะพระกามเทพ ได้รับความเคารพจากผู้สร้างงานศิลปะทั้งหลาย
และมีความประเสริฐยิ่งในบรรดาผู้ประพฤติธรรม (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 33)