Page 85 -
P. 85

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           66        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


                 เนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์ที่โดดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ การแสดงให้
          เห็นพระราชกรณียกิจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทางด้านศาสนา โดยทรงส่งเสริมศาสนา
          พราหมณ์ควบคู่ไปกับศาสนาพุทธ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อมีการสถาปนาเมืองชัยศรีนั้น
          จารึกปราสาทพระขรรค์บันทึกไว้ว่าเมืองแห่งนี้มีความยอดเยี่ยมกว่าเมืองประยาคซึ่ง

          เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดูในอินเดีย เนื่องจากเมืองประยาคมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพียง
          2 อย่าง ได้แก่สายน ้าคงคาและยมุนา แต่เมืองชัยศรีมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันยอดเยี่ยมถึง 3
          อย่าง ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระศิวะ และพระวิษณุ ดังที่ว่า

                        เมืองประยาคท าให้ชาวโลก ไปถึงความบริสุทธิ์ได้ด้วย
                   การสักการะกราบไหว้ เนื่องจากว่าเมืองประยาคเป็นที่รวมของ
                   สิ่งศักดิ์สิทธิ์สองประการ (คงคาและยมุนา) แต่เมืองชัยศรีมี
                   สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เยี่ยมยอดถึงสามประการ คือ พระพุทธเจ้า พระศิวะ

                   และพระวิษณุ ควรจะได้รับการพรรณนาว่าอย่างไรจึงจะเหมาะ
                                   (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 85)

                 รายละเอียดดังกล่าวของเนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์แตกต่างจากเนื้อหา
          จารึกปราสาทตาพรหมตรงที่ผู้แต่งจารึกปราสาทตาพรหมจะยกย่องศาสนาพุทธให้
          เหนือกว่าศาสนาพราหมณ์ และไม่มีรายละเอียดส่วนใดที่ผู้แต่งน าคติความเชื่อทาง
          ศาสนาฮินดูมาเทียบเคียงเสมอกับศาสนาพุทธได้เลย

          7.2  การสร้างศาสนสถาน


                 จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์บันทึกรายละเอียด
          การสร้างปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์ไว้แตกต่างกัน เนื้อหาจารึกปราสาท
          ตาพรหมโศลกที่ 35-36 ระบุถึงเมืองที่มีชื่อว่าราชวิภาระ (ราชวิภารนามฺนี) หรือปราสาท

          ตาพรหม โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงมีจุดมุ่งหมายให้พื้นที่แห่งนี้เป็นสถานที่ดูแล
          พระมารดาของพระพุทธเจ้า รายละเอียดจะเน้นให้เห็นถึงความสวยงามของเมืองราชวิภาระ
          ที่สร้างขึ้น ดังที่ยกย่องว่า “เป็นเมืองที่มีร่างกายประดับตกแต่งด้วยรัตนะและทองค า
          ที่สว่างไสวโชติช่วง” (นิพัทธ์ แย้มเดช, 2558, น. 135) เมื่อสร้างเมืองราชวิภาระ พระเจ้า
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90