Page 86 -
P. 86

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   67


                 ชัยวรมันที่ 7 โปรดให้ประดิษฐานรูปพระมารดาของพระองค์ขึ้นในปีมหาศักราช 1108
                 ส่วนปราสาทพระขรรค์เป็นอนุสรณ์ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างถวายพระเจ้าศรี
                 ธรณีนทรวรมันที่ 2 พระราชบิดา จารึกปราสาทพระขรรค์บันทึกการสร้างเมืองชัยศรี
                 หรือปราสาทพระขรรค์ไว้ในโศลกที่ 32 ผู้แต่งกล่าวว่าแผ่นดินที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

                 กรีธาทัพไปรบนั้น นองไปด้วยเลือดของศัตรู ดังนั้น เมื่อสถาปนาเมืองชัยศรีจึงมีการ
                 ประดับตกแต่งภูมิทัศน์โดยรอบด้วยทอง ดอกบัวและหิน เพื่อกลบร่องรอยคราบเลือดบน
                 พื้นดิน อย่างไรก็ตามในความรู้สึกของผู้แต่ง ความงามที่สัมผัสนั้น “ย่อมปรากฏ
                 เหมือนกับทาด้วยเลือดทั้งหลายจนกระทั่งทุกวันนี้” (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531,

                 น. 86) และเนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์โศลกที่ 34 บันทึกเหตุการณ์ที่พระเจ้าชัยวรมัน
                 ที่ 7 ทรงเบิกพระเนตรองค์พระประติมาพระเจ้าศรีธรณีนทรวรมันที่ 2 ในรูปพระโลเกศวร
                 ซึ่งมีพระนามว่า “ศรีชยวรเมศวร” ซึ่งประดิษฐานรูปเคารพขึ้นในปีมหาศักราช 1113 ขึ้น
                 (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 87)

                 7.3 รายการสิ่งของบางส่วนที่ถวายภายในปราสาท


                        สิ่งของถวายภายในปราสาทตาพรหมและปราสาทพระขรรค์บางรายการมี
                 รายละเอียดแตกต่างกัน จะเห็นได้จากรายการสิ่งของที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม

                 แต่ไม่พบในจารึกปราสาทพระขรรค์ คือ เครื่องเทศ สมุนไพร และยารักษาโรค แม้
                 เนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์ด้านที่ 2 โศลกที่ 3 ปรากฏศัพท์ว่า “อาโรคฺยายตเน”
                 แปลว่า ในบริเวณของโรงพยาบาล และด้านที่ 3 โศลกที่ 31 ผู้แต่งบันทึกไว้ว่ามี
                 “วลภิปฺราสาท” หรือ อาโรคยศาลาจ านวน 102 แห่ง ดังนี้ “ปิณฺฑีกฤตาสฺตุ วลภิปฺราสาทา
                 เทฺวาสตนฺตถาศิลาคฺฤหาณ า ตุ ปญฺจาศีติศฺจตุศฺศตะ” (สมบัติ มั่งมีสุขศิริ, 2558, น.80-
                 81) แต่ก็ไม่ได้ให้รายละเอียดเครื่องยาสมุนไพรแบบที่พบในจารึกประจ าอาโรคยศาลา

                 ต่างจากจารึกปราสาทตาพรหม มีการระบุถึงเครื่องเทศสมุนไพรและเครื่องยารักษา
                 โรคจ านวนมาก ดังเช่นตรุษกะ (โศลกที่ 100 และ 112) กลีบดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม
                 (โศลกที่ 100 และ 113) ไขมันชะมดเช็ด (โศลกที่ 101) ขิงแห้ง (โศลกที่ 102) มหาหิงคุ์
                 (โศลกที่ 113 และ 137 ) ดีปลีและผงดีปลี (โศลกที่ 125 และ 126) บุนนาค (โศลกที่
                 126) ทังทังสะ ซึ่งสันนิษฐานว่า คือ ปลิง (โศลกที่ 129) ต้นกันทัง ต้นหะลาย ต้นชันสยัง
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91