Page 84 -
P. 84

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                       วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560)   65


                        เนื้อหาจารึกปราสาทพระขรรค์ ในบทที่ 25 แสดงให้เห็นภาพลักษณ์ของ
                 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในด้านความเป็นกษัตริย์ “ยอดนักรบ” ได้อย่างชัดเจน ดังที่
                 พรรณนาภาพกลางสมรภูมิรบอันดุเดือดระหว่างกองทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กับ
                 กองทัพของข้าศึก พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มีความกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง พระขรรค์ของ

                 พระองค์เปียกชุ่มไปด้วยเลือดของข้าศึก ขณะที่เหล่าข้าศึกต่างเกรงกลัวในความทรง
                 อ านาจของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ดังที่ว่า

                         ในที่รบ พวกพระราชา เมื่อทรงเห็นพระขรรค์สีเขียวเข้ม ที่
                         แดงฉานไปด้วยเลือดและที่เหลืองอร่ามด้วยทอง ที่พระองค์
                         กวัดแกว่งทางด้านขวางและทิ่มแทงไปทางด้านหน้าอย่างน่า
                         อัศจรรย์ต่างก็วางอาวุธแล้วน้อมไหว้ เหมือนกับมีความกลัว
                         ว่าจะได้รับอันตรายจากธนูของพระอินทร์ (สายฟ้า)

                                        (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 85)

                        ผู้แต่งจารึกปราสาทพระขรรค์แสดงภาพลักษณ์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่าทรง
                 เป็นกษัตริย์ที่มีน ้าพระทัยกว้างขวาง พระราชทานรางวัลแก่ผู้ที่ท าความดีความชอบ
                 อย่างมากและเน้นให้เห็นว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความฉลาดเยี่ยง
                 นักปราชญ์ เปรียบเหมือนกับปาณินิซึ่งเป็นนักไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอันลือชื่อ
                 ตัวอย่างเนื้อความที่เด่นมาก คือ เนื้อหาสดุดีพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ว่าฉลาดรอบรู้ทาง
                 ไวยากรณ์สันสกฤต ดังนี้


                         พระองค์เป็นที่รู้จักกันทั่วไปตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ว่าเป็นปาณินิ
                         ผู้ชอบค าที่ถูกต้อง ผู้ท าให้ค านามเพิ่มขึ้นด้วยการประกอบ

                         ปัจจัย สตฺ (อตฺ, อาน, มาน) และด้วยการเปลี่ยนสระเป็นขั้น
                         คุณและวฤทธิ ผู้คงแก่เรียน ผู้จัดระเบียบของตัวอักษร ผู้ให้
                         ค าว่า ทุรฺหฤทฺ เป็นค ายกเว้น ผู้ได้รับการไหว้โดยพระศิวะ ผู้มี
                         ชื่อเสียงโด่งดัง
                                          (จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา, 2531, น. 85)
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89