Page 93 -
P. 93
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
74 Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)
ต้นแบบของจารึกปราสาทตาพรหมที่มีอิทธิพลต่อจารึกปราสาทพระขรรค์อย่าง
ชัดเจน
9. บทสรุป
จากการศึกษาเปรียบเทียบรายละเอียดเนื้อหาจารึกปราสาทตาพรหมและ
จารึกปราสาทพระขรรค์ จะเห็นว่าเนื้อหาของจารึกทั้งสองหลักมีลักษณะร่วมกัน และ
เนื้อหาบางส่วนมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ลักษณะร่วมของเนื้อหาปราสาทตาพรหม
และจารึกปราสาทพระขรรค์เห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะช่วงตอนต้นเรื่องที่มีเนื้อหาเป็น
บทบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เนื้อหาที่แสดงข้อมูลทางเชื้อสายของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และ
เนื้อหาบางส่วนที่แสดงการสดุดีพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 การบันทึกเนื้อหาของจารึกทั้ง
สองหลักในส่วนตอนต้น มีสาระส าคัญเหมือนกันทุกประการ บ่งชี้ว่ารายละเอียดใน
ส่วนนี้มีความส าคัญมาก เพราะเนื้อความในจารึกสะท้อนทั้งความเชื่อทางศาสนาและ
เชื้อสายวงศ์ตระกูลของกษัตริย์ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ สะท้อนทั้งอุดมคติทางศาสนา
และการยืนยันสิทธิอันชอบธรรมแห่งราชบัลลังก์ เนื้อหาของจารึกปราสาทตาพรหม
และจารึกปราสาทพระขรรค์ยังมีรายละเอียดที่สอดคล้องกัน โดยระบุถึงรายการ
สิ่งของถวายแก่เทวรูปปรากฏตรงกันในบางส่วน รายการสิ่งของเหล่านี้จะต่างกัน
เพียงล าดับของบทในจารึกกับปริมาณมากน้อยต่างกัน การที่มีรายการสิ่งของระบุชื่อ
ตรงกัน สะท้อนให้เห็นว่ารายการสิ่งของที่น ามาถวายภายในศาสนสถานเป็นที่นิยมใช้
ในกิจกรรมทางศาสนาเหมือนกัน และสิ่งของที่น ามาถวายเป็นผลิตผลการเกษตรที่มี
อยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ อาทิ ข้าวสารที่ใช้หุงบูชาเทพ งา ถั่วเขียว ผักและผลไม้
น ้าอ้อย น ้ามันจากผลไม้ น ้าผึ้ง นมสด นมเปรี้ยว เป็นต้น ปริมาณสิ่งของดังกล่าวมี
จ านวนมาก และยังมีเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย โดยเฉพาะผ้าที่ท ามาจากไหม เครื่องใช้
อ านวยความสะดวกสบาย เช่น เตียงนอน วัตถุโลหะอันมีค่าต่างๆ เช่น ทองค า ทองแดง
เงิน รวมทั้งเครื่องประดับประเภทรัตนะจ านวนมากซึ่งถวายเป็นเครื่องบูชาแก่สิ่ง
ศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งสิ่งของประเภทไม้หอม เครื่องหอม ยิ่งไปกว่านั้นมีการกล่าวถึง
รายละเอียดของสิ่งมีชีวิต ที่อยู่อาศัย และสิ่งก่อสร้างในลักษณะที่สอดคล้องกันด้วย