Page 94 -
P. 94
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2560) 75
และเนื้อหาที่เป็นสารของกษัตริย์ในช่วงท้ายของจารึกทั้งสองหลักแสดงออกถึงความ
จงรักภักดีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีต่อพระราชบิดาและพระราชมารดาอย่างสูงสุด
เนื้อหาของจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์มีรายละเอียด
บางประการที่แตกต่างกันออกไปด้วย เห็นได้จากเนื้อหาส่วนที่เป็นบทสดุดีวีรกรรม
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จารึกทั้งสองหลักจะสดุดีภาพลักษณ์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในมิติ
ที่แตกต่างกัน จารึกปราสาทตาพรหมเน้นภาพลักษณ์พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่อิงกับคติ
ความเชื่อทางพระพุทธศาสนามหายานอย่างชัดเจน คือ ความมีเมตตา ส่วนจารึก
ปราสาทพระขรรค์เน้นภาพลักษณ์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในด้านกษัตริย์ยอดนักรบ
รายละเอียดที่ต่างกันยังเห็นได้จากการก่อสร้างศาสนสถาน รายการสิ่งของบางส่วนที่
ถวายภายในปราสาทซึ่งไม่ปรากฏในจารึกอีกหลัก การกล่าวถึงชื่อเฉพาะ และเนื้อหา
ในส่วนบทลงท้ายซึ่งแสดงรายละเอียดของผู้แต่ง
จากการพิจารณาล าดับเวลาของการเขียนจารึกและสถานภาพของผู้ประพันธ์
โครงสร้างของเนื้อหาและรายละเอียดของเนื้อหา และการสร้างสรรค์อลังการ ท าให้
เห็นถึงความเป็นต้นแบบของจารึกปราสาทตาพรหมที่มีอิทธิพลต่อการสร้างเนื้อหา
จารึกปราสาทพระขรรค์ในช่วงเวลาต่อมา
จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์เป็นจารึกสดุดีพระเกียรติ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นจารึกหลักส าคัญที่สุดในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
เนื้อหาจารึกทั้งสองหลักแสดงภาพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในฐานะเทวราชา ธรรมราชา
และพุทธราชา ตลอดจนการที่พระองค์ทรงเป็นผู้เลื่อมใสในกิจการทางศาสนาและทรง
เป็นวีรบุรุษยอดนักรบอย่างโดดเด่น ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวน่าจะเป็นแนวคิดส าคัญ
ของการสดุดีพระเกียรติกษัตริย์อันอาจส่งอิทธิพลมายังจารึกประเภทสดุดีกษัตริย์ใน
ดินแดนใกล้เคียง รวมถึงงานวรรณกรรมสดุดีพระเกียรติประจ าราชส านักในดินแดน
ประเทศไทยด้วย