Page 75 -
P. 75

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


           56        Humanities Journal Vol.24 No.2 (July-December 2017)


          จึงเป็นจารึกที่คู่กันสอดคล้องกับปราสาททั้งสองหลัง ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทาง
          ศาสนาและเป็นสัญลักษณ์แทนพระราชบิดาและพระราชมารดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
          ด้วยเหตุนี้เนื้อความจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์จึงบันทึก
          รายละเอียดความเคลื่อนไหวของการก่อสร้างปราสาท การแสดงความจงรักภักดีของ

          พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่มีต่อพระราชบิดาและพระราชมารดา อีกทั้งสะท้อนคติความเชื่อ
          ทางพระพุทธศาสนาอย่างละเอียด

                 จารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์ บันทึกข้อความลงบน
          ศิลาจารึกแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลายบัวอยู่บนฐาน บนยอดจารึกมีลายสลักดอกบัว
          เหมือนกัน ขนาดของจารึกทั้งสองหลักมีความสูงและความกว้างใกล้เคียงกัน คือ สูง
          1.85 เมตร กว้างด้านละ 58 เซนติเมตร จารึกทั้ง 2 หลัก มีเนื้อหาครบทั้ง 4 ด้าน
          จารึกปราสาทตาพรหมมี 74 บรรทัด จารึกปราสาทพระขรรค์มี 72 บรรทัด (C d s,

          1941, p. 255) ลักษณะรูปตัวอักษรที่บันทึกลงบนศิลาวัตถุมีลักษณะสี่เหลี่ยมตามแบบ
          อย่างอักษรขอมโบราณ พุทธศตวรรษที่ 18 เนื้อหาที่บันทึกแต่งเป็นโศลกภาษาสันสกฤต
          ประกอบด้วยฉันท์หลายชนิด กล่าวคือจารึกปราสาทตาพรหมใช้ฉันท์ 6 ชนิด ได้แก่
          วสันตติลกฉันท์ อุปชาติฉันท์ อินทรวัชรา ศารทูลวิกรีฑิตฉันท์ อารยาฉันท์ และ
          อนุษฎภฉันท์ ส่วนจารึกปราสาทพระขรรค์ใช้ฉันท์ 7 ชนิด ได้แก่ วสันตติลกฉันท์
               ุ
          อุปชาติฉันท์ อินทรวัชรา ศารทูลวิกรีฑิตฉันท์ อารยาฉันท์ อนุษฎภฉันท์ และมาลินีฉันท์
                                                        ุ

                 เนื้อความในจารึกปราสาทตาพรหมและจารึกปราสาทพระขรรค์เป็นบทสดุดี
          พระเกียรติคุณพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เช่นเดียวกัน เนื้อหาจารึกทั้งสองหลักแสดง
          รายละเอียดของศาสนสถาน รายละเอียดกิจกรรมทางศาสนา รายการสิ่งของที่อุทิศ
          ถวายแก่เทวรูปจ านวนมาก และโครงสร้างเนื้อหามีการล าดับความใกล้เคียงกันมาก
          ที่น่าสังเกตในตอนท้ายของเนื้อความในจารึกปราสาทตาพรหมระบุชื่อผู้แต่ง คือ
          เจ้าชายศรีสูรยกุมาร พระโอรสผู้ประสูติจากพระอัครมเหสี (Kapur & Sahai, 2007, p. 56)

          ส่วนเนื้อความในตอนท้ายจารึกปราสาทพระขรรค์ระบุชื่อผู้แต่ง คือ เจ้าชายวีรกุมาร
          พระโอรสของพระนางราเชนทรเทวี พระมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (C d s, 1941,
          p. 301)
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80