Page 63 -
P. 63
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
52 Humanities Journal Vol.21, No.1 (January-June 2014)
บาทสระบุรีไว้อย่างครบถ้วน เพื่อให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับการ “ไปพระบาท” ของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและน าเสนอในรูปแบบโคลงลิลิตดั้น
แม้ว่ามูลเหตุของการแต่งเรื่องโคลงลิลิตดั้นต านานพระพุทธบาท
จะเกิดจากการ “ไปพระบาท” ของพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับบุณโณวาทค าฉันท์
กระนั้นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงสร้างสรรค์งานใน
รูปแบบและเนื้อหาที่แตกต่างออกไป ดังจะเห็นว่าโคลงลิลิตดั้นต านานพระพุทธ
บาทมิได้มีจุดประสงค์เพื่อบันทึกภาพการเสด็จพระราชด าเนินยกยอดมณฑปพระ
พุทธบาทของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นงานค้นคว้ารวบรวม
ข้อมูลเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทสระบุรีไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นต านานรอยพระ
พุทธบาทสระบุรี การอุปถัมภ์รอยพระพุทธบาทของอดีตพระมหากษัตริย์ตั้งแต่
สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัตนโกสินทร์ รวมถึงรายละเอียดของประเพณี “ไปพระบาท”
ในยุคสมัยของผู้แต่งด้วย นอกจากนี้ผู้แต่งยังแทรกการวิเคราะห์ข้อมูลไว้ในบาง
ช่วงบางตอน ท าให้โคลงลิลิตดั้นต านานพระพุทธบาทแสดงให้เห็นลักษณะการ
สร้างสรรค์งานที่ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาแบบตะวันตกอย่างชัดเจน กล่าวคือมี
ทั้งการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปข้อมูลแทรกอยู่ในงาน
ในโคลงลิลิตดั้นต านานพระพุทธบาท ผู้แต่งน าเสนอต านานรอย
พระพุทธบาทไว้เป็นส่วนแรกเช่นเดียวกับในบุณโณวาทค าฉันท์ แต่ต านานที่
แสดงไว้นั้นมาจากแหล่งอ้างอิงที่หลากหลาย ท าให้เห็นความเป็นมาของรอยพระ
พุทธบาทสระบุรีในมิติต่างๆ อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการอ้างถึงพระพุทธบาท
ส าคัญทั้ง 5 รอยตามคติความเชื่อของศรีลังกา ได้แก่ รอยพระพุทธบาทบนเขา
สุวรรณมาลิก รอยพระพุทธบาทบนหาดริมแม่น ้านัมทา รอยพระพุทธบาทบนเขา
สัจพันธบรรพต (สุวรรณบรรพต) รอยพระพุทธบาทที่เมืองโยนก และรอยพระพุทธบาท
บนเขาสุมนกูฏ (เรียงล าดับตามที่ปรากฏในบทประพันธ์) ต านานรอยพระพุทธบาท
บนเขาสุวรรณบรรพตหรือรอยพระพุทธบาทสระบุรีจากคัมภีร์พระพุทธศาสนา
ต านานรอยพระพุทธบาทสระบุรีที่อ้างอิงมาจากต านานไทยเหนือโบราณ และ
ต านานการค้นพบรอยพระพุทธบาทสระบุรีจากพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา