Page 68 -
P. 68

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                     วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2557)   57

                ศักดิ์สิทธิ์หรือความเป็น “บริโภคเจดีย์” ของรอยพระพุทธบาทแต่อย่างใด
                นอกจากนี้การแสดงทัศนะว่าต านานเป็นเพียง “เรื่องแต่ง” หรือแสดงให้เห็นความ
                ขัดแย้งระหว่างผู้ที่เชื่อและไม่เชื่อในต านานรอยพระพุทธบาท ย่อมแสดงให้เห็นว่า

                ความศรัทธาในรอยพระพุทธบาทสระบุรีของคนสมัยรัตนโกสินทร์เปลี่ยนแปลงไป
                จากอดีต อย่างไรก็ตามแม้จะมีการถกเถียงกันว่ารอยพระพุทธบาทเป็น “ของจริง”
                หรือไม่ แต่ผู้แต่งก็มิได้ให้ความส าคัญกับประเด็นดังกล่าวมากไปกว่าผลทาง
                จริยธรรมที่เกิดขึ้นจากความศรัทธาในรอยพระพุทธบาท ดังความว่า

                               ๏  แม้พระจะเหยยยบด้วย  พระบาท เองแล
                           ฤๅจะสมมตถวาย               ต่างไว้
                                   ่
                             ่
                           ไปแผกไปแปลกอาจ             โอมศรัท ธานา
                           แล้วจะขืนค้านได้           ประโยชน์ไฉนดีไฉน ฯ
                               ๏  พุทธเจ้าเป็นพุทธเจ้า   เพราะธรรม แถลงนา
                           ใช่เพราะองค์อ าไพ          ผ่องแผ้ว
                           พระธรรมและควรน า           พาประพฤติ์ ตามแล
                           เพราะประพฤติ์ตามแล้วได้    สวัสดี ฯ

                               (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์, 2456: 55)

                       เมื่อความศรัทธาในรอยพระพุทธบาทสระบุรีก่อให้เกิดประเพณี
                วัฒนธรรมอันดีงามและการประพฤติตามหลักธรรมค าสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
                ประเด็นเรื่องความเป็น “ของแท้” หรือ “ของเลียนแบบ” ก็มิใช่สิ่งที่ควรถกเถียงกัน
                อีกต่อไป ด้วยเหตุนี้รอยพระพุทธบาทสระบุรีจึงยังคงความส าคัญในฐานะ “มหา
                                            ั
                เจดียสถาน” ของสังคมไทยตราบเท่าปจจุบัน
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73